กรมที่ดิน

​​​​​​ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย


* ตัวอย่างที่ (๑) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (ในเขตฯ) (บุคคลธรรมดา)
* ตัวอย่างที่ (๒) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (นอกเขตฯ)(บุคคลธรรมดา)
* ตัวอย่างที่ (๓) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจากมรดกหรือรับให้ (บุคคลธรรมดา)

ตัวอย่างที่ (๑) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (ในเขตฯ) (บุคคลธรรมดา)


๑. ข้อมูล

  • ๑.๑ จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๑ อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยรับให้เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ถือครองมา ๕ ปี วันนี้ได้ตกลงโอนในราคา ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
  • ๑.๒ กรณีได้มาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ ๕๐ ของเงินได้
  • ๑.๓ บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา

 

เงินได้สุทธิไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาทร้อยละ ๕
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
๕๐๐,๐๐๐ บาท
ร้อยละ ๑๐
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ร้อยละ ๒๐
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ร้อยละ ๓๐
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทร้อยละ ๓๗

๒.วิธีการคำนวณ

๒.๑ ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ (ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด)
หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ ๕๐ (๒,๐๐๐,๐๐๐ x ๕๐)
๑๐๐
เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๒ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (๒,๐๐๐,๐๐๐ - ๑,๐๐๐,๐๐๐)เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๓ เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม ๒.๒ หารด้วยปีที่ถือครอง)
(๑,๐๐๐,๐๐๐)
เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๔ ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม ๒.๓ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ฯ)
๑๐๐,๐๐๐ x ๕ = ๕,๐๐๐
๑๐๐
๑๐๐,๐๐๐x ๑๐ = ๑๐,๐๐๐
๑๐๐
เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
๒.๕ ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม ๒.๔ คูณด้วยปีที่ถือครอง)
๑๕,๐๐๐x๕
เป็นเงิน ๗๕,๐๐๐ บาท

ตัวอย่างที่ (๒) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (นอกเขตฯ)(บุคคลธรรมดา)


๑. ข้อมูล
  • ๑.๑ จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๑ อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยรับให้เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ถือครองมา ๕ ปี วันนี้ได้ตกลงโอน ในราคา ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
  • ๑.๒ เฉพาะกรณีมรดกหรือได้รับให้โดยเสน่หา สำหรับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ให้คำนวณภาษีเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนที่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ตลอดปีภาษีนั้น
  • ๑.๓ ได้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ ๕๐ ของเงินได้
  • ๑.๔ บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาทร้อยละ ๕
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
๕๐๐,๐๐๐ บาท
ร้อยละ ๑
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาท
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ร้อยละ ๒๐
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
แต่ไม่เกิน
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ร้อยละ ๓๐
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทร้อยละ ๓๗

๒. วิธีการคำนวณ

 

๒.๑ ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ (ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด)
หักด้วยจำนวนเงินที่ได้รับยกเว้น
๒,๐๐๐,๐๐๐ - ๒๐๐,๐๐๐
หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ ๕๐ (๑,๘๐๐,๐๐๐ x ๕๐)
๑๐๐

เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐บาท

เป็นเงิน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท
เป็นเงิน ๙๐๐,๐๐๐ บาท

๒.๒ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (๑,๘๐๐,๐๐๐ - ๙๐๐,๐๐๐)เป็นเงิน ๙๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๓ เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม ๒.๒ หารด้วยปีที่ถือครอง)
(๙๐๐,๐๐๐)
เป็นเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท
๒.๔ ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม ๒.๓ คูณด้วยอัตราภาษี)
๑๐๐,๐๐๐ x ๕ = ๕,๐๐๐
๑๐๐
๘๐,๐๐๐ x ๑๐ = ๘,๐๐๐
๑๐๐
เป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท
๒.๕ ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม ๒.๔ คูณด้วยปีที่ถือครอง)
๑๓,๐๐๐x๕
เป็นเงิน ๖๕,๐๐๐ บาท

ตัวอย่างที่ (๓) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจากมรดกหรือรับให้ (บุคคลธรรมดา)


๑. ข้อมูล
  • ๑.๑ จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๑ อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยซื้อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ถือครองมา ๕ ปี วันนี้ได้ตกลงโอนในราคา ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
  • ๑.๒ บัญชีอัตราการหักค่าใช้จ่ายเหมา เฉพาะในกรณีได้มาทางอื่นนอกจากมรดกหรือรับให้

     

    จำนวนปีที่ถือครองร้อยละของเงินได้
    ๑ ปี๙๒
    ๒ ปี๘๔
    ๓ ปี๗๗
    ๔ ปี๗๑
    ๕ ปี๖๕
    ๖ ปี๖๐
    ๗ ปี๕๕
    ๘ ปี ขึ้นไป๕๐

  • ๑.๓ บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา

     

    เงินได้สุทธิไม่เกิน...๑๐๐,๐๐๐ บาทร้อยละ ๕
    เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
    แต่ไม่เกิน
    ๑๐๐,๐๐๐ บาท
    ๕๐๐,๐๐๐ บาท
    ร้อยละ ๑๐
    เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
    แต่ไม่เกิน
    ๕๐๐,๐๐๐ บาท
    ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
    ร้อยละ ๒๐
    เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
    แต่ไม่เกิน
    ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
    ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
    ร้อยละ ๓๐
    เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทร้อยละ ๓๗

๒. วิธีการคำนวณ

 

๒.๑ ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้(ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด)
หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ ๖๕ (๒,๐๐๐,๐๐๐ x ๖๕)
๑๐๐
เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เป็นเงิน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๒ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (๒,๐๐๐,๐๐๐ - ๑,๓๐๐,๐๐๐)เป็นเงิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท
๒.๓ เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม ๒.๒ หารด้วยปีที่ถือครอง)
(๗๐๐,๐๐๐)
เป็นเงิน ๑๔๐,๐๐๐ บาท
๒.๔ ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม ๒.๓ คูณด้วยอัตราภาษี)
๑๐๐,๐๐๐ x ๕ = ๕,๐๐๐
๑๐๐
๔๐,๐๐๐ x ๑๐ = ๔,๐๐๐
๑๐๐
เป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท
๒.๕ ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม ๒.๔ คูณด้วยปีที่ถือครอง)
๙,๐๐๐x๕
เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท