กรมที่ดิน ได้ดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รวมทั้งการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยสรุปดังนี้
-
การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน เพื่อการบริหารจัดการระบบที่ดิน
ดำเนินการจัดทำร่างข้อกำหนดขอบเขตงาน (TOR) และดำเนินการตามขั้นตอนของการประกวดราคาด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ประกาศข้อกำหนดขอบเขตงานจ้างพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 – 2554 ใน Website
www.dol.go.th เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2552 เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ ปรากฏว่า มีบริษัทให้ข้อเสนอแนะข้อปรับปรุงแก้ไข TOR จำนวน 20 ราย ซึ่งคณะกรรมการจัดทำ TOR ได้ประชุมพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 โดยจะเผยแพร่ข้อกำหนดขอบเขตงานทาง Website ครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 – 23 เมษายน 2552 เพื่อรับฟังข้อวิจารณ์ข้อเสนอแนะอีกครั้ง
ผลลัพธ์
- โครงการดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์ กรมที่ดินจะสามารถให้บริการประชาชนเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การรังวัด และทำแผนที่เกี่ยวกับที่ดินที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ประหยัด โปร่งใส เป็นธรรม และการคิดค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกรรมที่ดินเป็นไปอย่างมีระบบสามารถตรวจสอบได้ และมีการให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินแบบข้ามพื้นที่และข้ามสำนักงาน (Online) รวมทั้งรัฐมีฐานข้อมูลที่ดินที่เป็นศูนย์กลางบริการด้านภูมิสารสนเทศและสนับสนุนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน
ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ในพื้นที่ 56 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ชัยภูมิ นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี เพชรบุรี สระแก้ว สิงห์บุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา อ่างทอง นครนายก กาญจนบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และระนอง ได้ผลงานจำนวน 109,005 แปลง คิดเป็นร้อยละ 54.50 ของเป้าหมาย (ประกอบด้วยผลการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินและสอบเขตที่ดินทั้งตำบล 107,727 แปลง และออกโฉนดที่ดินแบบท้องถิ่น 1,278 แปลง) ซึ่งสามารถออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชนแล้ว จำนวน 32,669 แปลง
ผลลัพธ์
- ราษฎรไม่น้อยกว่า 109,005 ราย ในพื้นที่ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้มีเอกสารสิทธิในที่ดินยึดถือไว้เป็นหลักประกันความมั่นคงในการถือครองที่ดินและสามารถนำเข้าแหล่งเงินทุนได้ ทำให้เกิดความรักและหวงแหนแผ่นดิน ก่อให้เกิดกำลังใจและแรงจูงใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งลดข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิในที่ดิน ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองและสังคม ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและความมั่นคงของประเทศโดยรวม
-
ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1)
ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) โดยการสำรวจตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน และตำแหน่งที่ดินตามหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินที่มีอยู่จริงกับทะเบียนการครอบครองที่ดิน ระวางแผนที่หรือระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่ายทางอากาศว่าที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินนั้น ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปแล้วหรือไม่ ได้ผลงานจำนวน 1,885,946 แปลง คิดเป็นร้อยละ 83.81 ของเป้าหมาย
ผลลัพธ์
- จำนวน ส.ค.1 ที่ได้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว แต่ยังมิได้มีการหมายเหตุ ได้รับการหมายเหตุจำหน่ายให้ถูกต้อง รวมทั้งทะเบียนการครอบครองที่ดินและป้องกันการนำ สค. 1 ที่ได้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้วแต่ยังมิได้มีการหมายเหตุไปใช้ในทางไม่สุจริต หรือสร้างความเสียหายต่อทางราชการ อีกทั้งทำให้ทราบตำแหน่งที่แน่นอนของ ส.ค. 1 ที่คงเหลือยูจริงว่าอยู่ในระวางบริเวณที่ดินใดเพื่อสนับสนุนการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินต่อไป
-
จัดทำและให้บริการระวางแผนที่ระบบดิจิทัล
ดำเนินการจัดทำและให้บริการระวางแผนที่ระบบดิจิทัล ได้ผลงานจำนวน 5,393 ระวาง คิดเป็นร้อยละ 35.95 ของเป้าหมาย (ประกอบด้วยผลงานสร้างและให้บริการระวางแผนที่ภาคพื้นดิน 3,980 ระวาง สร้างและให้บริการระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ 1,273 ระวาง และปรับปรุงระวางแผนที่จากเดิมเป็นระบบพิกัดฉาก ยูทีเอ็ม 140 ระวาง)
ผลลัพธ์
- ที่ดินที่ราษฎรครอบครองทำประโยชน์แล้ว มีหมุดหลักฐานแผนที่ที่มีความถูกต้อง และมีระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและระวางขยายภาพถ่ายทางอากาศเพื่อรองรับการทำงานของกรมที่ดิน สำหรับใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ประชาชนทั่วประเทศและสามารถตรวจสอบแนวเขตรูปแปลงที่ดิน เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการพัฒนาที่ดิน ได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง อีกทั้งมีระวางแผนที่ระบบพิกัดฉากยูทีเอ็มบริการหน่วยงานต่าง ๆ ได้ตามความต้องการและมีข้อมูลรังวัดในรูปแบบดิจิทัลเพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆได้
2. ประเด็นยุทธศาสตร์ : การจัดที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนที่ยากจน
กลยุทธ์ : เร่งรัดการจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ยากจน
แผนงบประมาณ : วางระบบการถือครองและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดิน
ผลผลิต : ที่ดินของรัฐที่จัดให้แก่ประชาชนที่ยากจน
กิจกรรม / เป้าหมาย
จัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ยากจนพร้อมทั้งจัดทำสาธารณูปโภคตามโครงการต่าง ๆ จำนวน 4,500 แปลง และการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จำนวน 9,100 แปลง
ผลการดำเนินงาน / ผลลัพธ์
- Ø การจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ยากจน และการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ
- - ดำเนินการจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ยากจน พร้อมทั้งจัดทำสาธารณูปโภคตามโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงร่วมกับกองทัพบก ในพื้นที่จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน พะเยา และเชียงราย รวม 2 โครงการ ได้ผลงานจำนวน 2,118 แปลง คิดเป็นร้อยละ 47.06 ของเป้าหมาย
- - ดำเนินการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการรังวัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อจัดให้แก่ประชาชน เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนเลิกใช้ร่วมกัน และมีราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์เต็มแปลงหรือบางส่วนในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยผู้บุกรุกดังกล่าวต้องเป็นผู้ยากจนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีน้อยแต่ไม่เพียงพอ ยอมรับการดำเนินการตามนโยบายแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนมาดำเนินการจัดที่ดินไปตามสภาพเดิมที่ครอบครองอยู่ ครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ พร้อมทั้งจัดทำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ถนน ที่เป็นทางสัญจรระหว่างชุมชนและเข้าสู่ที่เกษตรกรรม มีแหล่งน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรเพื่อจัดระเบียบการถือครองที่ดินและออกหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ ไว้เป็นหลักฐานให้แก่ประชาชนที่ยากจนในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม น่าน พะเยา กำแพงเพชร ขอนแก่น นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชัยนาท เชียงใหม่ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สงขลา สุโขทัย สุรินทร์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุดรธานี และอุบลราชธานี ได้ผลงานจำนวน 400 แปลง คิดเป็นร้อยละ 4.39 ของเป้าหมาย ผลการดำเนินการน้อยกว่าเป้าหมายมาก เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการรังวัดวางผังแบ่งแปลงที่ดินซึ่งกรมที่ดินให้ความเห็นชอบการจัดทำโครงการ และได้จัดสรรงบประมาณในการรังวัดวางผังแบ่งแปลงที่ดินให้จังหวัดดังกล่าว รวม 37 โครงการ คาดว่าจะสามารถจัดที่ดินให้แก่ประชาชนได้อีก 5,371 แปลง
ผลลัพธ์
จัดที่ดินให้แก่ประชาชนที่ยากจนไม่น้อยกว่า 2,518 แปลง ทำให้มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินเพียงพอต่อการประกอบอาชีพ โดยได้รับหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐก่อให้เกิดความมั่นคงในการถือครอง นำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและป้องกันการบุกรุกขยายขอบเขตการถือครองที่ดินของรัฐ รวมทั้งมีการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามสภาพพื้นที่ ทำให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพช่วยรักษาและดำรงความสมดุลของทรัพยากรให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์สืบไป
3. ประเด็นยุทธศาสตร์ : การบริหารจัดการที่ดินของรัฐให้มีประสิทธิภาพ
แผนงบประมาณ : สร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลผลิต : ที่ดินของรัฐที่ได้รับการบริหารจัดการ
ผลผลิต : ที่ดินของรัฐที่จัดให้แก่ประชาชนที่ยากจน
กิจกรรม / เป้าหมาย
รังวัดและจัดทำแผนที่เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ กำหนดเป้าหมายจำนวน 2,500 แปลง
ผลการดำเนินงาน / ผลลัพธ์
การรังวัดและจัดทำแผนที่เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ ดำเนินการในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ เชียงรายและเชียงใหม่ ได้ผลงานจำนวน 1,316 แปลง คิดเป็น ร้อยละ 52.64 ของเป้าหมาย
ผลลัพธ์
ที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันมีแนวเขตที่ดินที่ชัดเจนสามารถป้องกันการบุกรุกและลดข้อพิพาทเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ อีกทั้งมีการบริหารจัดการที่ดินของรัฐเป็นไปอย่างเหมาะสมและรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์สืบไป
4. ประเด็นยุทธศาสตร์ : การพัฒนาระบบการบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ
แผนงบประมาณ : การบริหารจัดการภาครัฐ
ผลผลิต : งานด้านทะเบียนและรังวัดที่ดินที่บริการให้แก่ประชาชน
กิจกรรม / เป้าหมาย
- วางมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยพิจารณาปรับปรุงและ วางระเบียบการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติจากสำนักงานที่ดิน หน่วยงานต่าง ๆ การเพิกถอนรายการจดทะเบียน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้บริการปรึกษาตอบข้อหารือทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต จำนวน 5,630 เรื่อง
- การกำหนดสิทธิในที่ดิน โดยการพิจารณาสิทธิในที่ดินและหารือเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม คนต่างด้าว นิติบุคคลบางประเภทและนิติบุคคลเพื่อการศาสนา รวมทั้งควบคุม ตรวจสอบทะเบียนที่ดิน จัดเก็บข้อมูลที่ดิน และห้องชุดของคนต่างด้าว จำนวน 2,225 เรื่อง
- ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย โดยการร่างกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และสัญญา ต่าง ๆ จำนวน 5 ฉบับ และศึกษาวิเคราะห์วิจัยและจัดทำคำชี้แจง คำเสนอ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมที่ดิน รวมทั้งให้คำปรึกษาปัญหาข้อกฎหมาย เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ งานที่ดิน จำนวน 1,110 เรื่อง 40 ครั้ง และดำเนินการเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ จำนวน 400 คดี
- ให้บริการด้านการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และพิจารณาตรวจสอบการขออนุญาตจัดสรรที่ดินและค้าที่ดิน จำนวน 450 ราย 27,000 แปลง และตรวจสอบการจดทะเบียนอาคารชุด จำนวน 60 ราย 12,000 ห้อง
- การให้บริการประชาชนด้านทะเบียนและรังวัดที่ดิน โดยการบริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จำนวน 3,300,000 ราย ด้านรังวัดและออกเอกสารสิทธิ จำนวน 200,000 ราย และให้บริการด้านข้อมูลที่ดินและอื่น ๆ จำนวน 1,500,000 ราย และจัดเก็บเงินรายได้ประเภทต่าง ๆ จำนวน 43,000 ล้านบาท
ผลการดำเนินงาน / ผลลัพธ์
- วางมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดำเนินการพิจารณาปรับปรุงและวางระเบียบการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติจากสำนักงานที่ดิน หน่วยงานต่าง ๆ การแก้ไขเพิกถอนรายการจดทะเบียนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้บริการปรึกษาตอบข้อหารือทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต ได้ผลงานจำนวน 4,323 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 76.78 ของเป้าหมาย
- การกำหนดสิทธิในที่ดิน ดำเนินการพิจารณาสิทธิในที่ดินและหารือเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของคนต่างด้าว นิติบุคคลบางประเภทและนิติบุคคลเพื่อการศาสนา รวมทั้งควบคุมและตรวจสอบทะเบียนที่ดิน จัดเก็บข้อมูลที่ดิน และห้องชุดของคนต่างด้าว ได้ผลงานจำนวน 1,247 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 56.04 ของเป้าหมาย
- การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ดำเนินการยกร่างกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และสัญญาต่าง ๆ ได้ผลงานจำนวน 9 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 180.00 ของเป้าหมาย และดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และจัดทำคำชี้แจง คำเสนอเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมที่ดิน ได้ผลงานจำนวน 23 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 76.66 ของเป้าหมาย รวมทั้งให้คำปรึกษาปัญหาข้อกฎหมาย เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานที่ดินได้ผลงานจำนวน 914 เรื่อง 48 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 84.62 และร้อยละ 120.00 ของเป้าหมาย ตามลำดับ และการดำเนินการเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ได้ผลงานจำนวน 256 คดี คิดเป็นร้อยละ 64.00 ของเป้าหมาย
ผลลัพธ์
กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และสัญญาต่างๆ ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ส่งผลให้ประชาชนมีความมั่นคงในสิทธิ ในที่ดิน และมีการพัฒนาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างกว้างขวาง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความคล่องตัว และมั่นใจในการให้บริการประชาชนด้านความรวด เร็วถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่นต่อการบริการ รวมทั้งประชาชนและนิติบุคคลบางประเภท ได้รับการคุ้มครองในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์อย่างถูกต้องตามระเบียบกฎหมายอันเป็นการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งการเปิดโอกาสให้ประชาชนสอบถามปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินโดยทางโทรศัพท์ ส่งผลให้ประชาชนได้รับคำแนะนำ แก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย และได้รับความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการมาปรึกษาด้วยตนเอง ทำให้ประชาชนผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจและเข้าใจในการปฏิบัติงานของกรมที่ดินเพิ่มขึ้น
- การให้บริการด้านการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ได้ผลงานจำนวน 184 ราย 29,976 แปลง คิดเป็นร้อยละ 40.88 และร้อยละ 111.02 ของเป้าหมายตามลำดับ และดำเนินการตรวจสอบการจดทะเบียนอาคารชุด ได้ผลงานจำนวน 100 ราย 21,427 ห้อง คิดเป็นร้อยละ 166.66 และร้อยละ 178.55 ของเป้าหมายตามลำดับ ผลการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 และ 17 มีนาคม 2552 ให้ขยายเวลาตามมาตรการการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน และห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดในการโอนและการจำนอง ออกไปอีก 1 ปี จนถึง 28 มีนาคม 2553 เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มที่มีรายได้อยู่ในเกณฑ์ระดับ ปานกลาง ประกอบกับคนในเมืองเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Life Style) ที่จะมีที่พักอาศัยอยู่ในเขตเมืองชั้นใน เพื่ออยู่ใกล้ที่ทำงาน และสถานที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ อีกทั้งสถาบันการเงินมีการปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น จึงทำให้กลุ่มคนทำงานที่มีรายได้อยู่ในเกณฑ์ระดับ ปานกลางมีกำลังในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น
ผลลัพธ์
ประชาชนผู้บริโภคจะได้รับความเป็นธรรมจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการตรวจสอบและได้รับการคุ้มครองสิทธิในการใช้สอยสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ มีสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งผลต่อสาธารณะส่วนรวมของสังคมและการเติบโตของเมืองเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนสอดคล้องกับการจัดผังเมือง
- การให้บริการประชาชนด้านทะเบียนและรังวัดที่ดิน โดยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การรังวัดและอื่น ๆ ได้ประมาณ 2,698,026 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.96 ของเป้าหมาย (ประกอบด้วยให้บริการด้านจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 1,767,060 ราย การรังวัดและออกเอกสารสิทธิ 114,209 ราย บริการด้านข้อมูลที่ดินและอื่น ๆ 816,757 ราย) และจัดเก็บรายได้ทุกประเภทได้ประมาณ 13,388.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.13 ของเป้าหมาย (ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ 6,199.00 ล้านบาท ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 8,723.00 ล้านบาท ค่าอากรแสตมป์ 1,226.00 ล้านบาท และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 332.00 ล้านบาท)
ผลลัพธ์
การให้บริการประชาชน ณ สำนักงานที่ดิน ทำให้ประชาชนที่ถือครองที่ดินและมีเอกสารสิทธิในที่ดิน ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรับบริการด้านต่าง ๆ และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมั่นในการถือครองที่ดิน สามารถนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้เพื่อการลงทุน และเพิ่มรายได้ อีกทั้งสามารถสืบค้นหลักฐานทางทะเบียนที่ดินได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม อันเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการบริการภาครัฐ ซึ่งการให้บริการดังกล่าว สามารถจัดเก็บรายได้ให้รัฐได้ประมาณ 13,388.00 ล้านบาท ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการซื้อ ขาย จำนอง และขายฝากอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการอยู่อาศัยและนำไปเป็นปัจจัยในการลงทุน ส่งผลให้เกิดการสร้างงานและเพิ่มรายได้
ปัญหา / อุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนงาน / โครงการและแนวทางแก้ไข
- งานเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ผู้นำเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ครอบครองและทำประโยชน์ในเขตที่สาธารณประโยชน์ ในเขตสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และเขตป่าไม้ ซึ่งกรมที่ดินจะดำเนินการออกโฉนดที่ดินได้ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาและตรวจสอบหลายขั้นตอน เช่น ในเขตที่สาธารณประโยชน์ต้องนำเสนอ กบร. จังหวัดพิจารณาก่อน อีกทั้งพื้นที่ดำเนินการบางส่วนติดแนวเขตป่าไม้ถาวร ซึ่งยังไม่มีการขีดเขตป่าในระวางแผนที่ และราษฎรบางส่วนอยู่ต่างท้องที่ไม่มานำเดินสำรวจในวันรังวัดหรือส่งตัวแทนมานำรังวัดหรือระวังชี้แนวเขต
แนวทางแก้ไข :
ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางหรือมาตรการจัดทำแนวเขตให้ชัดเจน และประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรทราบทางสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปในท้องที่พบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กำหนดวันทำการรังวัด
- การจัดที่ดินตามโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนและโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ประสบปัญหาเครื่องจักรกลบางส่วนมีสภาพเก่า 20 – 30 ปี ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากได้รับจัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมเครื่องจักรกลและการจัดซื้อทดแทนเพียงเล็กน้อย ตลอดจนสภาพพื้นที่เสี่ยงอันตราย ภูเขาสูงชัน ติดชายแดน ไม่ปลอดภัย และมีโรคระบาด
แนวทางแก้ไข :
ได้ประสานงานให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำแผนขอสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องจักรกลใหม่มาทดแทน และงบประมาณในการซ่อมแซมเครื่องจักรกล พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้หน่วยงานทหารดูแลด้านความปลอดภัยในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานตามแนวชายแดน
- การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ที่มีการบุกรุก และราษฎรผู้ยากจนกลุ่มเป้าหมายที่รัฐจะแก้ไขปัญหาให้เรียกร้องจะขอรับแต่เอกสารสิทธิในที่ดินเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ยอมรับในเบื้องต้นแล้วว่าเข้าอยู่อาศัยในที่สาธารณประโยชน์โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องทำความเข้าใจกับราษฎรเหล่านั้น และราษฎรผู้ยากจนต้องการได้ที่ดินทำกินมีจำนวนมาก แต่ทรัพยากรที่จะนำมาดำเนินการมีจำนวนจำกัด จึงต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์ไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคต แปลงที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ดำเนินการอยู่กระจัดกระจายบางแปลงมีแนวเขตไม่ชัดเจน อีกทั้งโครงการนี้เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานจำเป็นต้องเน้นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อผลสำเร็จของโครงการและประโยชน์แก่ราษฎรผู้ยากจน
แนวทางแก้ไข :
ให้อำเภอและผู้ปกครองท้องที่ในพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ราษฎรได้รับทราบว่าทางราชการไม่สามารถออกเอกสารสิทธิให้แก่ผู้ที่อยู่ในที่สาธารณประโยชน์ได้อย่างแน่นอน แต่การเข้าร่วมโครงการราษฎรจะเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้อยู่ในที่สาธารณประโยชน์ โดยทางราชการออกหนังสืออนุญาตให้เป็นหลักฐาน และจะดำเนินการในพื้นที่ที่มี ผู้บุกรุกแล้วเท่านั้นและจำกัดเนื้อที่ซึ่งอนุญาตครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ หากถือครองเนื้อที่เกินจะต้องยอมคืนเพื่อจัดให้แก่ครอบครัวอื่น โดยจะไม่นำที่สาธารณประโยชน์ที่ไม่มีการบุกรุกมาดำเนินการแต่อย่างใด
- การรังวัดและจัดทำแผนที่เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ เนื่องจากที่ดินสาธารณ -ประโยชน์บางแปลง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่ในโฉนดที่ดิน อยู่ในเขตแม่น้ำ และบางแปลงได้ดำเนินการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว
แนวทางแก้ไข :
เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการสำรวจแปลงที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงอื่นในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ทำการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง และแปลงที่มีปัญหาเรื่องแนวเขตหรือแปลงที่ไม่สามารถนำรูปลงที่หมายในระวางได้นำมารังวัด ฯ เป็นแปลงทดแทน
การปรับแผน
หน่วยงานที่ได้ดำเนินการขอปรับแผนระหว่างปี ดังนี้
สำนักเทคโนโลยีทำแผนที่
กิจกรรม : ดำเนินการรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่โดยระบบดาวเทียมจากเดิม 35,000 หมุด ขอปรับเป้าหมายเป็น 9,017 หมุด เนื่องจากการรังวัดส่วนใหญ่ดำเนินการด้วยวิธี Static ซึ่งปฏิบัติงานยุ่งยากซับซ้อนกว่าเป็นไปตามระเบียบสำนักเทคโนโลยีทำแผนที่ ว่าด้วยการปฏิบัติงานรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่และปริมาณขั้นต่ำ พ.ศ. 2547 เมื่อคิดอัตราการทำงานในพื้นฐานเดียวกันกับการรังวัด RTK GPS ซึ่งจะได้ผลงานไม่น้อยกว่า 35,000 หมุด
ข้อเสนอแนะ
สำนัก / กอง ควรตรวจสอบผลการดำเนินงานในระหว่างปี หากมีกิจกรรม / งาน ที่ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ และกิจกรรมนั้นมิได้ปรากฏในเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี ก็สามารถขอปรับเพิ่ม / ลด เป้าหมายการดำเนินงานระหว่างปีได้ โดยให้ส่งเรื่องการปรับเป้าหมาย พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลความจำเป็นให้กองแผนงาน เพื่อจะได้พิจารณาดำเนินการต่อไป
ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กรมที่ดินได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 5,024.8624 ล้านบาท เพื่อดำเนินการบริหารราชการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการดำเนินงาน กรมที่ดินได้เบิกจ่ายเงินไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 2,014.3625 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.09 ของเงินงบประมาณที่ได้รับทั้งปี แยกเป็นรายละเอียดตามแผนงบประมาณ / ผลผลิต / กิจกรรม ดังนี้
แผนงบประมาณ / ผลผลิต / งาน / โครงการ / กิจกรรม |
งบประมาณ
ที่ได้รับจัดสรร
(ล้านบาท) |
งบประมาณ
ที่เบิกจ่ายแล้ว
(ล้านบาท) |
คิดเป็น
ร้อยละ |
หมายเหตุ |
1. แผนงบประมาณ :
วางระบบการถือครองและกำหนด
แนวเขตการใช้ที่ดิน
1.1 ผลผลิต :
โฉนดที่ดินที่ออกให้แก่ประชาชน
กิจกรรม :
1.
เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน
2.
ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1)
3. จัดทำและให้บริการระวางแผนที่ระบบดิจิทัล |
968.6015
746.7268
30.9700
208.9047 |
377.7713
302.9773
2.5679
72.2261 |
38.29
40.57
8.29
34.57 | |
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินเพื่อการบริหารจัดการ ระบบที่ดิน |
151.2000 |
- |
- | |
1.2 ผลผลิต :
ที่ดินของรัฐที่จัดให้แก่ประชาชนที่ยากจน
กิจกรรม : |
288.8033 |
90.8973 |
31.47 | |
1.
จัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ยากจน
2. บริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน |
90.7549
198.0484 |
52.5260
38.3713 |
57.87
19.37 | |
2.
แผนงบประมาณ :
สร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์
และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลผลิตที่ 1 ที่ดินของรัฐที่ได้รับการบริหารจัดการ
กิจกรรม :
รังวัดทำแผนที่เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ
และควบคุมคุ้มครองที่ดินของรัฐ |
77.0425 |
28.7189 |
37.27 | |
3. แผนงบประมาณ :
บริหารจัดการภาครัฐ
ผลผลิต
:
งานทะเบียนและรังวัดที่ดินที่บริการให้แก่ประชาชน
กิจกรรม : |
3,521.2151 |
1,516.9750 |
43.08 | |
1.
บริการด้านทะเบียนที่ดินในสำนักงานที่ดิน
2.
บริการด้านรังวัดที่ดินในสำนักงานที่ดิน | | | | |
รวม |
5,024.8624 |
2,014.3625 |
40.09 | |