​ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้ สำหรับผู้เริ่มต้นและระดับกลางน่าอ่านมาก (4)​




ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้ สำหรับผู้เริ่มต้นและระดับกลางน่าอ่านมาก (4)

Main Frame
            Mainframe คือคำที่กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำ เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)
            ที่ผ่านมา เครื่องคอมพิวเตอร์แมนเฟรมจะทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมแบบสู่ศูนย์กลาง (Centralized)มากกว่าจะเป็นแบบกระจาย (Distributed) แต่ในปัจจุบัน เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มสามารถทำหน้าที่เสมือนเครื ่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้แล้ว มันสามารถให้บริการแก่ยูสเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กใดๆในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

MalWare
            มัลแวร์ หรือโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Application; MalWare) คือโปรแกรมที่ทำงานแบบไม่หวังดีกับระบบคอมพิวเตอร์ อันหมายรวมถึง ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), โปรแกรมแอบดักข้อมูล (Spyware), โปรแกรมโฆษณา (Adware), Backdoor, Key Loggerฯลฯ เพิ่มเติมความหมายในรายละเอียดจะต่อให้ข้างหลัง

Memory
            Memory หรือ หน่วยความจำ คือ อุปกรณ์อิเลคโทรนิคที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลบางส่วนซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุด บางครั้งคำว่า "หน่วยความจำ" อาจใช้แทนคำว่า "แรม" (RAM; Random Access Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งได้

Microchip
            Microchip หรือ ไมโครชิพ หรือ ชิพ คือแพ็คเกจของชุดวงจรคอมพิวเตอร์ (อินทิเกรเต็ดเซอร์กิต; Integrated Circuit) ซึ่งผลิตขึ้นจากวัตถุดิบ เช่น ซิลิคอน ที่มีขนาดเล็กมากๆ ไมโครชิพถูกสร้างขึ้นสำหรับโปรแกรมตรรกะ (ชิพไมโครโปรเซสเซอร์) และหน่วยความจำ (แรม; RAM) นอกจากนี้ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆอีกด้วย เช่น Analog-to-Digital Conversion, Bit Slicing และ Gateway เป็นต้น

Microprocessor
            Microprocessor หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ คือ คอมพิวเตอร์โปรเซสเซอร์บนไมโครชิพ มันเป็น "เอนจิ้น" ซึ่งจะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ถูกออกแบบมาเพื่อการประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ซึ่งอาศัยตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า "รีจีสเตอร์" (Register) เป็นตัวเก็บนำส่งข้อมูลและเก็บผลลัพธ์เป็นการชั่วคราว
            ลักษณะการประมวลผลทั่วๆไปของไมโครโปรเซสเซอร์ได้แก่ การบวก, การลบ, การเปรียบเทียบตัวเลข 2จำนวน และการดึง (Fetch) ข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ลักษณะการประมวลผลเหล่านี้คือผลจากชุดคำสั่ง (Instruction) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์
            เมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะอ่านคำสั่งชุดแรกจากระบบอินพุตเอาต์พุตเบื้องต้นหรือไบออส (Basic Input/Output System; BIOS) ซึ่งจะติดมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็น ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ หลังจากนั้น ทั้งไบออส หรือระบบปฏิบัติการที่ไบออสโหลดเข้ามาเก็บไว้ในหน่วย ความจำ หรือแอพพลิเคชั่นโปรแกรม จะเป็นตัวขับเคลื่อนไมโครโปรเซสเซอร์ หมายถึงการป้อนชุดคำสั่งให้ประมวลผลหรือปฏิบัติงาน

Motherboard
            Motherboard หรือ Mainboard หรือ มาเธอร์บอร์ด หรือ เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปแบบโดยทั่วไปของเมนบอร์ดในปัจจุบันจะเป็นแบบ AT ซึ่งอ้างอิงตามแบบดั้งเดิมของไอบีเอ็ม และ ATX ซึ่งเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อจาก AT มาอีกขั้นหนึ่ง
            ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบที่มาต่อกับเมนบอร์ด ได้แก่ ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor),หน่วยความจำ (Memory), ไบออส (BIOS), เอ็กซ์แพนชั่นสล็อต (Expansion Slot) และช่องต่ออินเตอร์คอนเนคติ้ง (Interconnecting)
            อุปกรณ์อื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาสามารถเชื่อมต่อกั บเมนบอร์ดได้โดยผ่านทางเอ็กซ์แพนชั่นสล็อต ขณะที่ช่องทางที่เชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ดกับการ์ดใน เอ็กซ์แพนชั่นสล็อต จะเรียกว่า บัส (Bus)

Mouse
            Mouseหรือ เมาส์ คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนจอภาพ, อุปกรณ์นำเข้า (input device) ชนิดหนึ่งมีขนาดพอเหมาะกับมือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายไปบนผิวพื้นเรียบ ตัวเมาส์นี้ เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวทำให้เคลื่อนย้าย cursor ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ใต้ตัวเมาส์จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนย้ายไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ โดยปกติ เมาส์ของพีซีจะมี 3 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มทางด้านซ้าย ระบบวินโดว์ 95 มีการใช้ปุ่มทางขวาของเมาส์มากขึ้น ส่วนเมาส์ของแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว การใช้เมาส์จะมี 3 ลักษณะ คือ กดที่ปุ่มซ้ายหรือขวาเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกคำสั่ง หรือกำหนดภาพ ฯ กด 2 ครั้ง ติด ๆ กันเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมหรือเปิดแฟ้มข้อมูล กับกดแล้วลากเพื่อเคลื่อนย้ายข้อความหรือภาพ

Nonvolatile Memory
            Nonvolatile Memoryหรือ นอนโวลาไทล์เมมโมรี่ คือ หน่วยความจำทุกชนิดที่ไม่ต้องทำการรีเฟรชคอนเทนต์ ได้แก่ รอมทุกประเภท (ROM) เช่น พีรอม (PROM), เอ็ปรอม (EPROM), อีเอ็ปรอม (EEPROM) และแฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) รวมถึงแรม (RAM) ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ด้วย

Open-Source
            "Open-Source" หรือ "โอเพ่นซอร์ส" คือคำที่ใช้แทนคำว่า ฟรีซอฟต์แวร์ (Free Software) หรือซอฟต์แวร์เสรี ที่ให้เสรีภาพแก่ผู้บริโภคในการรัน, แก้ไขปรับปรุง และเผยแพร่โปรแกรม ไม่ว่าจะโดยการจำหน่ายหรือให้ฟรีก็ตาม แต่ที่สำคัญคือต้องแถมซอร์สโค้ด (Source Code) ไปด้วย

Operating System
            Operating System (OS)หรือ ระบบปฏิบัติการ  คือ โปรแกรมที่โหลดขึ้นมาตามกระบวนการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมนี้จะคอยจัดการกับโปรแกรมอื่นๆทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเรียกว่า "แอพพลิเคชั่น (Application)" แอพพลิเคชั่นโปรแกรมจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอาศัยโปรแกรมระบบปฏิบัติการผ่านทางส่วนติดต่อที่มีชื่อว่า เอพีไอ (Application Program Interface; API) ในขณะที่ผู้ใช้จะติดต่อกับระบบปฏิบัติการผ่านทางส่วน ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ซึ่งเป็นแบบกราฟิก (Graphical User Interface) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ GUI

PCI Express
            เทคโนโลยีใหม่สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต โดยเฉพาะกราฟิกการ์ด มีแบนด์วิธกว้างกว่าและความเร็วสูงกว่ามาตรฐาน PCI ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
            มาตรฐาน PCI จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดที่ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที (MBps) และเป็นการส่งผ่านแบบทิศทางเดียว เทียบกับ 250 MBps ต่อทิศทางของ PCI Express และเป็นการส่งผ่านข้อมูลแบบ 2 ทิศทาง รวมเป็นแบนด์วิธทั้งสิ้น 500MBps
            นั่นหมายถึงความเร็วโดยรวมของระบบที่สูงขึ้น และประสิทธิภาพในการใช้งานเครือข่ายกิกะบิตที่สูงขึ้น ซึ่งปกติจะเกิดปัญหาคอขวด ทั้งยังเป็นการปูทางสำหรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น HDTV (High-Definition TV) และกราฟิกเทคโนโลยีระดับแอดวานซ์ ด้วย

Peripheral
            Peripheral หรือ เพอริเฟอรัล  คือคำที่ใช้เรียกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดๆที่ไม่ใช่ส่วน ประกอบหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (โปรเซสเซอร์, เมมโมรี และเมนบอร์ด) แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพอริเฟอรัลอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต (Input/Output (I/O) Device) ซึ่งบางตัวจะเชื่อมอยู่กับเมนบอร์ดภายในเคสคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์, ซีดีรอม และการ์ดแลน ขณะที่อื่นๆจะอยู่นอกเคสฯ เช่น พรินเตอร์และสแกนเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลหรือไร้สายก็ตาม

Phishing
            พฤติกรรมการหลอกลวงผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัว ด้วยการอ่อยเหยื่อออนไลน์ จนเป็นที่มาของคำว่า phishing โดยเลียนคำว่า fishing ที่หมายถึง การตกปลา
            วิธีการหลอกลวงจะเริ่มต้นจากการสุ่มส่งอีเมล์ไปยังสม าชิกของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) หรือบริษัทการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยเนื้อหาในอีเมล์จะขอให้ผู้เป็นสมาชิกติดต่อทางบริ ษัท โดยผ่านทางเว็บเพจที่ระบุไว้ในตอนท้ายของอีเมล์
            สุดยอดของกลเม็ดนี้ก็คือการลวงใช้ URL เดียวกันกับเว็บไซต์จริง ๆ ของบริษัทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เป็นสมาชิกเว็บไซต์นั้นๆ หลงเชื่อคลิกเข้าไปที่เว็บเพจ ดังกล่าว โดยจะเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่ถูกเลียนแบบให้มีรูปลักษณ์หน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงของทางบริษัทเป็นอย่างมาก
            ในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าว จะมีข้อความให้ผู้ที่หลงเชื่อกรอกรายละเอียดต่างๆ ในการเป็นสมาชิกเสีย ใหม่ รวมทั้งรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ด และหมายเลขบัตรเครดิตด้วย เท่านี้เหยื่อก็ติดกับแฮคเกอร์เหมือนเป็นปลาน้อยหลงกลนักตกปลา

Podcast
            พ็อดคาสต์หรือ Podcast คือการบันทึกเสียงหรือการนำไฟล์เสียงขึ้นไปเก็บบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดมาฟัง ไฟล์เสียงที่ถูกเก็บไว้ในพ็อดคาสต์ไม่จำเป็นต้องเป็น ไฟล์เพลงเสมอไป เจ้าของเว็บไซต์สามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวกับเสียง หรืออาจทำในรูปแบบ Audio Weblog หรือเว็บล็อกที่ใช้เสียงพูดแทนตัวหนังสือ
            กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดคือ เว็บไซต์อย่าง EarningsCast.com นักลงทุนสามารถฟังรายงานผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้ผ่านพ็อดคาสต์ ถือเป็นการใช้พ็อดคาสต์เพื่อเป็นประโยชน์ในการเทรดหุ้นของบริษัท
            จุดต่างของระหว่างพ็อดคาสติ้งและสถานีเพลงออนไลน์ทั่วไปคือ ผู้ที่ต้องการฟังสถานีเพลงออนไลน์จะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ MP3 มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะดาวน์โหลดเพื่อเก็บในเครื่องเล่นพกพา ในขณะที่สมาชิกของเว็บไซต์พ็อดคาสต์จะได้รับไฟล์ MP3 อัปเดตใหม่แบบอัตโนมัติแม้จะไม่ได้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ก็ตาม ผลจากการทำงานร่วมกับ RSS Feed
            อย่างไรก็ตาม พ็อดคาสต์ถูกมองว่าเป็นช่องทางการสื่อสารเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากการใช้งานพ็อดคาสต์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม อย่างเช่นควรมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการดาวน์ โหลดลงเครื่องคอมพิวเตอร์หรือต้องมีอุปกรณ์เครื่องเล่นไฟล์เพลงแบบพกพาที่รองรับพ็อดคาสต์โดยเฉพาะ

Processor
            Processor หรือ โปรเซสเซอร์ คือวงจรตรรกะ (Logic) ซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองหรือประมวลชุดคำสั่งพื้นฐาน (Instruction) ที่ใช้ในการขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วคำ "Processor" อาจใช้แทนคำ "CPU" ได้ ทั้งนี้โปรเซสเซอร์ที่อยู่ในเครื่องพีซีหรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กจะนิยมเรียกว่า "Microprocessor" หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์

PROM
            Programmable Read-Only Memory  หรือ PROM หรือ พีรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ 1 ครั้ง PROM คือทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการบันทึกโค้ดโปรแกรมในหน่วยความจำรอม ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า PROM Programmer ในการบันทึก เครื่องมือชิ้นนี้จะป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเซลเฉพาะของหน่วยความจำรอมซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนฟิวส์ไฟฟ้า กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า การเบิร์นนิ่งพีรอม (Burning PROM) ข้อจำกัดในการเบิร์นนิ่งพีรอมคือห้ามเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากสามารถแก้ไขได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นจึงมีการคิดค้นรอมชนิดอื่นขึ้นมา เช่น EPROM (Erasable Programmable Read-Only Memory) และ EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory) ซึ่งสามารถแก้ไขได้หลายครั้ง

RAID 0
            RAID 0 คือเทคโนโลยีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์มองฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวเป็นตัวเดียว ประโยชน์ที่ได้รับก็คือพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วในการเรียกใช้และจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า

RAID 1
            RAID 1 คือเทคโนโลยีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานฮา​​ร์ดดิสก์ 2 ตัว ทำการบันทึกข้อมูลชุดเดียวกันลงฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 ตัว เสมือนเป็นแบ็คอัพซึ่งกันและกัน ประโยชน์ที่ได้รับก็คือความมั่นใจในการกู้ข้อมูลหากเกิดความเสียหายขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่ง

RAM
            RAM (Random Access Memory) คือส่วนประกอบหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้เก็บ ส่วนหนึ่งหนึ่งของระบบปฏิบัติการ แอพพลิเคชั่น และข้อมูลที่ใช้ในขณะนั้น เนื่องจากโปรเซสเซอร์จะเข้าถึงข้อมูลในแรมได้เร็วกว่าสื่อบันทึกข้อมูลแบบอื่นๆ เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ, ฟลอปปี้ดิสก์ และซีดีรอม เป็นต้น แต่แรมไม่ใช่สื่อบันทึกข้อมูลแบบถาวร ข้อมูลในแรมจะคงอยู่ตราบเท่าที่ยังเปิดใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์อยู่เท่านั้น และทันทีที่คุณปิดเครื่อง ทั้งหมดก็จะหายไป

ข้อมูลจาก : http://forum.zazana.com/index.php?topic=1628.0