ฟอร์มแฟกเตอร์ (Form Factor)
ฟอร์มแฟกเตอร์ (Form Factor) ซึ่งเป็น คำที่ใช้กำหนด ลักษณะทางกายภาพของเมนบอร์ดต่างๆ จากหลายๆ ยี่ห้อ ที่ทำออกมาจำหน่ายกันในท้องตลาด ณ วันนี้ ฟอร์มแฟคเตอร์ นั้นจะมีรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ในการวางหรือจัดตำแหน่งของช่องเสียบ (Port) ต่าง ๆ ขนาดความกว้าง ยาวของตัวเมนบอร์ดที่มีความแตกต่างกันไปตามฟอร์มแฟกเตอร์นั้น ๆ ฟอร์มแฟคเตอร์ของเมนบอร์ดเท่าที่ได้รวบรวมมาให้เห็นจะปรากฏในตารางข้างล่างนี้
ในปัจจุบันฟอร์มแฟคเตอร์ที่เป็นแบบ AT ไม่ผลิตแล้ว มีในตลาดส่วนมากเป็นแบบ ATX แบบ ATX จะมีการออกแบบที่แก้ไขปัญหาหรือข้อด้อยในแบบ AT หลายจุด โดยเฉพาะในเรื่องของการวางอุปกรณ์ที่เกิดความร้อนสูงในขณะทำงาน เช่น ซีพียู (CPU) ก็จะมีตำแหน่งอยู่ใกล้กับกล่อง Power Supply เพื่อที่จะได้ระบายความร้อนออกนอกตัวเครื่องได้อย่างดีขึ้น อีกเรื่องหนึ่งที่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงก็คือการใช้ Power Connector หรือขั้วไฟที่เป็นการออก แบบเป็นชุดเดียว และบังคับทางเสียบทำให้การติดตั้งลงบนเมนบอร์ดไม่มีความเสียหายอย่างแน่นอน ในเรื่องของการ สลับขั้วไฟและอื่น ๆ อีกหลายประการด้วยกัน
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งชนิดของเมนบอร์ดตามลักษณะการอินเทอร์เฟซของซีพียูได้ดังนี้
- Socket 370 ปัจจุบันมีซีพียูที่เป็นแบบซ็อกเก็ต 370 อย่างอินเทลเพนเทียม ทรี เซลเลอรอนคอร์ Tualatin และซีพียู จากทาง VIA อย่าง VIA Cyrix บางรุ่นเท่านั้นที่รองรับ
- Socket A หรือ Socket 462 เป็นซีพียูในตระกูล เอเอ็มดี ในรุ่น Athlon, Athlon XP และ Duron
- Socket 423 เป็นซีพียูเพนเทียม โฟร์ ที่ออกมาในรุ่นแรก ๆ ซึ่งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.18 ไมครอน โดยมีชื่อรหัสว่า Northwood มีจำนวนของหน่วยความจำแคชระดับ 2 จำนวน 512 กิโลไบต์
- Socket 478 สำหรับซีพียูรุ่นนี้ ถ้าความเร็วไปตรงกับซีพียูแพนเทียมโฟร์ที่เป็นแบบ Socket 478 ก็จะมีรหัสต่อท้าย ด้วยตัว A เช่น 1.8A ,2.0A
ชิปเซ็ตจะถือว่าเป็นส่วนสำคัญของเมนบอร์ดอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ชิปเซ็ตจะเป็นตัวคอยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์กับด้านความเร็วสูงกับด้านความเร็วที่รองลงไปให้ติดต่อสื่อสารกันอย่างสัมพันธ์กัน เพราะความสามารถต่าง ๆ ที่เมนบอร์ดมีนั้น ส่วนใหญ่ชิปเซ็ตจะเป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดความถี่ให้แก่ระบบบัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ CPU ได้ของยี่ห้อใดบ้างหรือให้รองรับหน่วยความจำประเภทใด, กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง และอีกหลาย ๆ คุณสมบัติด้วยกันที่มีอยู่ในตัวของชิปเซ็ต
โครงสร้างของชิปเซ็ตพอจะแยกเป็นได้ 2 โครงสร้างใหญ่ ๆ คือ
1. North Bridge และ SouthBridge
2. Accelerated Hub Architecture
North Bridge และ South Bridge
ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ SouthBridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น NorthBridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ SouthBridge จะมีระบบบัสแบบ PCI ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต NorthBridge และ SouthBridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec
โครงสร้างการทำงานของชิปเซ็ต
North Bridge , SouthBridge
1. XT Bus (Extended Technology) มีขนาดความกว้างของบัสข้อมูลขนาด 8 บิต มีใช้ในเครื่องรุ่นแรก ๆ ได้แก่ 8086,8088
2. AT Bus (Advanced Technology) หรืออาจเรียกกันว่า ISA Bus ก็ได้ครับ มีขนาดความกว้างของบัสข้อมูลขนาด 16 บิต ความเร็ว 8 MHz มีใช้ในเครื่องคอมฯ รุ่นต่อ ๆ มา ได้แก่ เครื่องรุ่น 80286 ขึ้นไปจนถึงในปัจจุบันก็ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไปในเมนบอร์ดใหม่ ๆ
3. VL Bus (VESA Local Bus) มีขนาดความกว้างของบัสข้อมูลขนาด 32 บิต มีใช้ในคอมฯ รุ่น 80386 , 80486 แล้วจบที่ยุคของ 80486 นั้นเอง
4. PCI Bus (Peripheral Component Interconnect) มีขนาดความกว้างของบัสข้อมูล 32 บิต ความเร็ว 33 MHz และมาตรฐานความเร็วของ PCI Bus จะอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของความเร็วของบัสภายนอกของ CPU เช่น บัสที่จ่ายให้แก่ CPU 66 MHz PCI Bus จะเท่ากับ 66/2 = 33 MHz หากบัสของ CPU ของเป็น 100 และ 133 MHz ความเร็ว PCI จะมีค่าเท่ากับ 100/3 และ 133/4 ตามลำดับ
ยังมีช่องเสียบอีกหลายชนิดที่ไม่ได้พูดถึงเนื่องจากช่องเสียบเหล่านั้นได้ทำมา โดยเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย เฉพาะ จึงไม่เรียกว่าเป็นช่องเสียบแบบ Expansion Slot ได้แก่ AGP (AcceleratedGraphicPort ) เป็นสล็อดที่ได้ออกแบบมาสำหรับใช้กับการ์ดแสดงผล ที่มีการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากที่สุดด้วยความเร็วที่สูงที่สุด แต่ในเมนบอร์ดจะมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น AGP มีขนาดความกว้าง 32 บิต ความเร็วเริ่มที่ 66 MHz และมีพัฒนาความเร็วไปที่ 133 และ 266 MHz ตามลำดับ
๐ สัญญาณนาฬิกาของระบบ (Real Time Clock)
เป็นส่วนที่คอยกำหนดจังหวะถี่ในการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ความถี่ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดจะได้มาจากผลึกควอซท์ที่เรียกว่าแร่คลิสตัลซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความถี่ ความถี่ที่ใช้ป้อนให้แก่ซีพียูแต่ละรุ่นก็ได้มาจากส่วนนี้นั่นเอง
๐ ขั้วต่ออุปกรณ์ประเภทตัวขับ (Drive)
ขั้วต่ออุปกรณ์ประเภทตัวขับหรืออาจเรียกว่า Controller เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ประเภท ตัวขับ หรือ Drive ต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ Hard Disk Drive, CD-ROM Drive
และ Floppy Disk Drive ที่จะต้องพึ่งพาขั้วต่อเหล่านี้ ในอดีตนั้นชุดควบคุมอุปกรณ์ประเภทตัวขับจะอยู่ภายนอกแยกเป็นอิสระที่เรียกกันว่า Controller Card หรือ Multi I/O หมายถึงว่าสามารถควบคุมและก็เป็นตัวค่อยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่วนการนำเข้าและส่วนการแสดงผลได้ในการด์ตัวเดียวกันนั่นเอง แต่ในปัจจุบันจะถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดอย่างสมบูรณ์แล้ว
1. Serial Port หรือ พอร์ตแบบอนุกรม มีชื่อเรียกกันหลายอย่างด้วยกันเช่น เช่น COM 1 , COM 2 , พอร์ต สื่อสาร หรือ พอร์ตของเม้าส์ เป็นต้น มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลขนาด 8 บิตได้ครั้งละ 1 บิตใน สาย 1 เส้น จนครบที่ปลายทาง 8 บิต ใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่น เม้าส์ (Mouse) , โมเด็ม (Modem) ฯลฯ
2. Parallel Port หรือ พอร์ตแบบขนาน มีชื่อเรียกกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น LTP Port, Printer Port เป็นต้น มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลขนาด 8 บิตได้ครั้งละ 8 บิตในสาย 8 เส้น ดังนั้นพอร์ตประเภทนี้จึงถือเป็นพอร์ตที่มีความเร็วสูง นิยมใช้กับ Printer , Scanner และอื่น ๆ
3. USB (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตหรือช่องเสียบที่เข้ามามีบทบาทต่ออุปกรณ์ในปัจจุบันเป็นอย่ามาก มีความเร็วสูงกว่า 2 พอร์ตแรกที่ได้กล่าวข้างต้น อีกทั้งยังมีความปลอดภัยต่อการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการเสียบ/ถอดอุปกรณ์ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังเปิดทำงานอยู่ก็จะไม่เกิดความเสียหาย มาตรฐาน USB นั้นสนับสนุนระบบ Plug & Play ที่ทำให้การติดตั้งอุปกรณ์ของผู้ใช้กลายเป็นเรื่องง่าย อุปกรณ์ที่ใช้กับ USB Port นั้นมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน เช่น Mouse , Keyboard , Printer , Scanner , Modem , Camera Digital และอื่น ๆ แทบจะเรียกได้ว่า อุปกรณ์ที่ทำการ Interface กับคอมพิวเตอร์ ณ วันนี้แทบจะเป็น USB กันเกือบจะหมดแล้ว
๐ ขั้วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง
เป็นส่วนที่ใช้สั่งการทำงานภายนอกตัวเครื่องคอมฯ รวมถึงเป็นการแสดงสีสันหน้าตาที่โดดเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งก็ว่าได้ เพราะในชุดขั้วต่อหรือปุ่มสวิทซ์หน้าปัดเครื่องนั้นจะมี Power LED ซึ่งเป็นชุดไฟแสดงสถานะการทำงานของ Power Supply Turbo LED เป็นส่วนที่แสดงสถานะว่าขณะนี้ได้ใช้ความเร็วสูงที่สุดของเครื่อง HDD. LED เป็นไฟสถานะบอกว่า HDD กำลังอ่าน/เขียนข้อมูลอยู่ ซึ่งกรณีของ HDD. LED นี้จะกระพริบตามจังหวะการอ่าน/เขียนของ HDD.
เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิต PCB (Print Circuit Board) ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่าง ๆ รวมทั้ง ซีพียู, หน่วยความจำหรือ RAM และแคช (Cache) ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรม
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัว ผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกัน นอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต (Slot) ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต
นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบัน ยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller), พอร์ตอนุกรม (Serial Port), พอร์ตขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2, USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controller สำหรับอุปกรณ์อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น
อาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ด
เมนบอร์ดเป็นที่รวมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์จึงมีปัญหาต่อเนื่องเกี่ยวพันกับอุปกรณ์อื่นเช่น ซีพียู แรม หรือการ์ดติดตั้งต่าง ๆ สำหรับปัญหาที่ผู้ใช้มักพบเห็นที่เกี่ยวกับเมนบอร์ดดังนี้
ปัญหาที่ 1 รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง
วิธีแก้ หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับต่อเมาส์และคีย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที
ปัญหาที่ 2 การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไร
ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปกติแต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลย ผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสีย จึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุ
สาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสียทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอ
วิธีแก้ ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทน
ปัญหาที่ 3 เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงาน
ปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboard ที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้
1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส
2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว
3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย
1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals
2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled
3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่
4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows
5. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ให้ Disabled ยกเลิกการใช้งานในไบออส แล้วหาซื้อการ์ดเสียงมาติดตั้งใหม่
ปัญหาที่ 4 จะติดตั้งพอร์ต USB ของตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดได้อย่างไร
สาเหตุ เมนบอร์ดทั้วไปมักจะมีพอร์ต USB ติดตั้งมาให้จำนวน 2 พอร์ต โดยจะมีขั้วพอร์ต USB ให้อีก 1 ช่องสำหรับต่อพอร์ต USB ได้อีก 2 พอร์ต ซึ่งพอร์ตต่อเพิ่มพอร์ต USB มักเป็น Options เสริมที่ต้องซื้อเพิ่มเอาเองแต่ในตัวเคสรุ่นใหม่ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างมักจะมีพอร์ตเสริม USB มาให้อีก 2 พอร์ต
วิธีแก้ การติดตั้งพอร์ตเสริม USB ของตัวเคสจำนวน 2 พอร์ต เพื่อให้ใช้งานได้จะต้องนำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟจำนวน 8 เส้นมาเสียบต่อเข้ากับช่องต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยจะต้องดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้ยอย่าเสียบผิดสายเพระสาย USB จะมีไฟเลี้ยงอยู่ด้วย จะทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหายได้ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งพอร์ต USB ตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องออกมาและหาตำแหน่งขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ด โดยที่ขา 1 จะมีเส้นทึบสีขาวขีดคร่อมอยู่
2. นำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟพอร์ต USB จากเมนบอร์ดมาเรียงไว้ โดยสายจะมี 2 ชุด ๆ ละ 4 เส้น
3. นำสายทั้ง 2 ชุดเสียบเข้ากับขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดประกอบกันด้วยอย่าสลับสายกันเป็นอันขาด
ปัญหาที่ 5 ใช้งานพอร์ต USB 2.0 ผ่านเครื่องพิมพ์ ไม่เห็นความเร็วเพิ่มขึ้น
สาเหตุ พอร์ต USB 2.0 เป็นพอร์ตมาตรฐานเพิ่งออกมาใหม่ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 480 Mbps หรือเร็วกว่าพอร์ต USB 1.1 ถึง 40 เท่าแต่ใช่ว่าเมื่อเมนบอร์ดรองรับพอร์ต USB 2.0 แล้วจะสามารถใช้งานได้เลย ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ USB 2.0 ให้ถูกต้องเสียก่อน
วิธีแก้ สำหรับวิธีการตรวจดูว่าคอมพิวเตอร์ของเราได้ติดตั้งและใช้ความสามารถของพอร์ต USB 2.0 แล้วหรือยังมีดังนี้
1. ใน Windows XP ให้คลิกปุ่ม Start>Control Panel>Switch to classic view
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน system
4. คลิกปุ่ม Device Manager
5. คลิกเครื่องหมาย + หน้า Universal Serial Bus controllers จะพบว่ามีแต่ไดรเวอร์ของ USB 1.1 ติดตั้งไว้เท่านั้น สำหรับ USB 2.0 ยังไม่ได้ติดตั้ง (มีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองหน้าตัว Universal Serial Bus (USB) Controlle)
6. ให้ติดตั้งไดรเวอร์ USB 2.0 โดยการคลิกเมาส์ขวาที่ตัว Universal Serial Bus (USB) Controller และเลือก Update Driver
7. เมื่อปรากฏหน้าจอให้ Update Driver ให้ใส่แผ่นซีดีรอมไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าเครื่องและคลิกเลือกหัวข้อ Install the software automatically และดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏหน้าจอต่อไป
8. ในขั้นตอนที่ 6 หากต้องการติดตั้งไดรเวอร์ USB จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดโดยตรงก็สามารถทำได้โดยใส่แผ่นไดรเวอร์เข้าไปในเครื่องเพื่อให้รันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เลือกข้อ VIA USB 2.0 Driver และดำเนินการไปตามข้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่
9. ให้เข้าไปตรวจสอบสถานะของไดรเวอร์ USB 2.0 ว่าได้รับการติดตั้งแล้วหรือไม่โดยเข้าไปที่ Control Panel ซึ่งจะพบว่ามีไดรเวอร์ของ USB 2.0 ได้รับการติดตั้งแล้วคือ USB 2.0 Root Hub และ VIA USB 2.0 Enchanced Host Controller เพียงเท่านี้เมื่อมีการใช้งานพอร์ต USB 2.0 เช่น สั่งพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ผ่านพอร์ต USB 2.0 งานพิมพ์แทบจะวิ่งออกมาทีเดียว
ปัญหาที่ 6 เปิดสวิทซ์แล้วเครื่องไม่ทำงานใด ๆ เลยไฟก็ไม่ติด ไม่มีเสียงร้อง
สาเหตุที่ 1 ปลั๊ก Power Supply หลวม
วิธีแก้ ให้ลองขยับปลั๊ก Power Supply ทั้งทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์และที่เต้าเสียบให้แน่น
สาเหตุที่ 2 อาจเป็นที่ Power Supply เสีย
วิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่ามีไฟฟ้าออกจาก Power Supply ถูกต้องหรือไม่วิธีสังเกต ถ้าเป็นสายไฟสีแดงจะมีค่า +5 Volt ถ้าเป็นสายสีเหลืองจะมีค่า +12 Volt หรืออาจสังเกตง่าย ๆ ขั้นต้นว่าเมื่อเปิดสวิทซ์นั้นพัดลมที่ติดอยู่กับ Power Supply หมุนหรือไม่ และเป็นไปได้ที่บางครั้ง Power Supply อาจจะเสียแต่พัดลมยังหมุนอยู่ เราอาจจะลองนำ Power Supply ตัวอื่นที่ไม่เสียมาลองเปลี่ยนดูก็ได้ ถ้าเสียก็ซื้ออันใหม่มาเปลี่ยนเอาแบบวัตต์สูง ๆ ก็จะดี
สาเหตุที่ 3 เป็นที่เมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ถ้า Power Supply ไม่เสียมีไฟเลี้ยงเข้าเมนบอร์ดตามปกติ ให้ลองเช็คโดยการถอดการ์ดต่าง ๆ และ RAM ออกหมด ถ้าเปิดเครื่องแล้วไม่มีเสียงร้องแสดงว่าเมนบอร์ดหรือ CPU เสีย แต่ถ้ามีเสียงร้องแสดงว่าอุปกรณ์บางตัวที่ถอดออกไปเสียและถ้าหากเมนบอร์ดเสียให้ส่งที่ร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
วิธีแก้ ส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซีพียูประเภทซ็อคเก็ตสล็อตวัน (Slot 1) และซ็อคเก็ตสล็อตทู (Slot 2) เช่น เพนเทียมทู เป็นต้น ให้เราปิดฝาเครื่องและลองขยับซีพียูที่ดูเหมือนแน่นอยู่แล้วให้แน่นขึ้นไปอีก
วิธีแก้ ลองหา CPU ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนแทนถ้าใช้ได้ละก็แสดงว่าตัวเก่าเสียแน่นอน
สาเหตุที่ 6 เป็นที่อุปกรณ์บางตัวเสียทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
วิธีแก้ ให้ลองใส่ตรวจเช็คทีละตัว
ปัญหาที่7 เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องแต่ไม่ยอมทำงานใด ๆ
สาเหตุที่ 1 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม
วิธีแก้ ถ้าอุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวมจะทำให้กระบวนการเช็คค่าเริ่มต้น (POST) ของ BIOS ฟ้องค่าผิดพลาดให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
สาเหตุที่ 2 อุปกรณ์บางตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดต่อไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ RAM ปกติเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาไม่สามารถแสดงภาพออกทางหน้าจอในตอนเริ่มต้นได้ Bios จะพยายามแจ้งอาการเสียผ่านทางเสียงร้องออกทางลำโพงที่อยูภายในเครื่องคอมฯ ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
สาเหตุที่ 3 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้เราลองเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ดดู
สาเหตุที่ 4 Chip บนเมนบอร์ดบางตัวเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเครื่อง Beep Code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip หรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่
ปัญหาที่ 8 เครื่องทำงานพื้นฐานตามปกติได้แต่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์บางตัวได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้นไม่ได้เสีย
สาเหตุที่ 1 Chip บางตัวบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเรื่อง Beep code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip หรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่
สาเหตุที่ 2 สล็อตหรือพอร์ตบางพอร์ตบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ลองเปลี่ยนการ์ดตัวนั้นไปเสียบสล็อตอื่นที่เหลือแทนแล้วลองทดสอบตามปกติ ถ้าเหมือนเดิมส่งร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
สาเหตุที่ 3 เกิดการ Conflict กับอุปกรณ์ตัวอื่น
วิธีแก้ เข้าไปที่ Device Manager ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงว่าที่อุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ได้ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้นเพื่อเข้าสู่ Properties จากนั้นลองแก้ไขค่า Resources ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่นครับ
สาเหตุที่ 4 ไม่ได้ลงไดรเวอร์
วิธีแก้ ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ลงไปโดยไดรเวอร์มักจะแถมมากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ลองดาวน์โหลดไดรเวอร์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตดู
สาเหตุที่ 5 ลงไดรเวอร์ผิดรุ่น
วิธีแก้ ในบางครั้งที่ระบบปฏิบัติการจะตรวจสอบชนิดและรุ่นของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผลของการตรวจสอบจะคลาดเคลื่อน ทางที่ดีควรตรวจเช็คให้แน่ว่ารุ่นของอุปกรณ์ตรงกับไดรเวอร์ที่ลงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ลงไดรเวอร์จากแผ่นโปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง
ปัญหาที่ 9 คอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
สาเหตุที่ 1 อาจเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีแก้ ลองใช้โปรแกรม Antivirus เวอร์ชั่นอัพเดทตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด
สาเหตุที่ 2 คุณภาพเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐาน
วิธีแก้ อาจเป็นเพราะคุณภาพของเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ให้เอาไปเปลี่ยน
สาเหตุที่ 3 ไฟล์ระบบปฏิบัติการชำรุด
วิธีแก้ ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากไวรัสและสาเหตุอื่น ๆ ให้เรา Backup ข้อมูล ฟอร์แมต แล้วลงระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
ปัญหาที่ 10 เวลาบู๊ตเครื่องต้องกด ทุกครั้ง
สาเหตุ พบความผิดพลาดขณะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test)
วิธีแก้ เมื่อขณะเปิดเครื่อง Bios จะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test) ถ้าพบผิดพลาดจะมีข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ทราบและหยุดรอผู้ใช้กด เพื่อทำงานต่อ ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราตั้งค่าใน Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไม่พบ อุปกรณ์ดังกล่าวจึงแจ้งความผิดพลาดให้เราทราบ ซึ่งเราอาจเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ ใน Bios ให้ตรงกับความจริง ปัญหาที่ Bios ก็จะหายไปเอง
ปัญหา 11 หลังจากที่เปิดเครื่องแล้วมีแต่เสียงปี๊บ ยาวๆ เกิดขึ้นและเครื่องก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้
วิธีแก้ ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องแล้วคุณจะได้ยินเสียงดังปี๊บสั้นๆ หนึ่งครั้ง ซึ่งเสียงนี้สื่อให้คุณรู้ว่าระบบทุกอย่างอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีอะไรผิดพลาด ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในเครื่องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการลืมติดตั้งการ์ดแสดงผล หน่วยความจำติดตั้งไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเสียงที่เกิดขึ้นนี้มีหลากหลายรูปแบบคุณจะต้องแยกให้ออกว่าเสียงนั้นดังอย่างไร จากตัวอย่างเช่น สั้นสลับยาวหรือดังยาว ๆ เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสต่างยี่ห้อกันเสียงที่เกิดขึ้นก็จะบ่งบอกสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกันไปอีกด้วย