1. โครงการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
  2. กรมที่ดินได้จัดทำโครงการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนมีความมั่นคงในการถือครองที่ดินซึ่งจะเป็นการพัฒนาประเทศชาติ ให้มีความเจริญ มั่นคงทางเศรษฐกิจการดำเนินการโครงการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 กำหนดให้เข้าดำเนินการในพื้นที่ 57 จังหวัด ภายใต้การควบคุม ดูแลของศูนย์อำนวยการเดินสำรวจฯ จำนวน 18 ศูนย์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2556
  3. เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการออกโฉนดที่ดิน
  4. บัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. หลักฐานเกี่ยวกับที่ดินต่างๆ เช่น ส.ค. 1 ใบจอง (น.ส.2) ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์     (น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข. หรือ แบบหมายเลข 3 โนดตราจอง  ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" หลักฐานแสดงสิทธิตามกฎหมายว่าด้วย การจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ (น.ค.3 หรือ กสน.5) กรณีที่ดินที่ไม่มีหลักฐานเดิมที่ได้มีการแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินภายใน 30 วัน นับแต่วันปิดประกาศเดินสำรวจ ตามแบบ ส.ค.2 หรือมิได้แจ้งความประสงค์จะได้สิทธิดังกล่าว แต่ได้นำรังวัดปักหลักเขตที่ดินตามวันและเวลาที่พนักงานนัดหมาย
  7. เจ้าของที่ดินต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนนำรังวัด
  8. ต้องตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ว่ามีเอกสารอะไรบ้างและเตรียมไว้ให้พร้อมในวันนำรังวัดเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  9. ชื่อตัว ชื่อสกุล ในหลักฐานบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และ เอกสารเกี่ยวกับที่ดินต้องถูกต้องตรงกัน หากไม่ถูกต้องให้ติดต่อแก้ไขที่อำเภอ และ/หรือสำนักงานที่ดินโดยเร็ว
  10. ถ้ามีการซื้อขาย หรือรับให้ที่ดินตามหลักฐาน น.ส.3  น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.กันไปแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอน ต้องไปจดทะเบียนโอนให้ถูกต้องตามกฎหมายที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา สำนักงานที่ดินจังหวัดส่วนแยก หรือ สำนักงานที่ดินอำเภอท้องที่ก่อน เมื่อมีชื่อในหลักฐานแล้วจึงจะนำรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นชื่อของตนเองได้
  11. ในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดิน ซึ่งมีชื่อใน น.ส.3 น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข. ตาย และยังมิได้จดทะเบียนผู้จัดการมรดก หรือโอนมรดกให้แก่ทายาททายาทผู้มีสิทธิตามกฎหมาย หรือ ผู้รับพินัยกรรม สามารถนำทำการเดินสำรวจรังวัดได้ โดยเตรียมหลักฐานการเป็นทายาทพร้อมสำเนาไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  12. ถ้ามี ส.ค.1 ใบจอง (น.ส.2) หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส3 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข. หรือแบบหมายเลข 3) แต่หลักฐานดังกล่าวชำรุด หรือ สูญหายให้เจ้าของที่ดินไปขอถ่ายสำเนาเอกสารฉบับของสำนักงานที่ดิน เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในวันนำรังวัด
  13. ถ้ามี น.ส. 3 น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข. แต่จำนองไว้ให้ขอถ่ายเอกสารที่สำนักงานที่ดินอำเภอมาเตรียมไว้ก่อนได้
  14. เจ้าของที่ดินต้องนำมารังวัดชี้เขต ตามวัน เวลาที่เจ้าหน้าที่นัดหมาย หากไม่สามารถนำรังวัดได้ตามกำหนด   อาจทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่นมาดำเนินการแทนได้
  15. เมื่อทราบกำหนดวันนัดหมายรังวัดของเจ้าหน้าที่แล้ว ต้องเตรียมถากถางแนวเขตที่ดิน   เพื่อความสะดวกในการรังวัดรอบแปลงที่ดิน
  16. ขอรับหลักเขตที่ดินจากเจ้าหน้าที่เพื่อนำไปปักตามมุมเขตที่ดินของตน
  17. ประสานกับเจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกด้านพร้อมผู้ปกครองท้องที่(กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน)เพื่อให้ร่วมดำเนินการใน วันทำการรังวัด
  18. ค่าใช้จ่ายในการออกโฉนดที่ดิน
  19. การออกโฉนดที่ดินตามโครงการนี้ เจ้าของที่ดินจะเสียค่าธรรมเนียมในวันรับโฉนดที่ดินดังนี้
  20. การออกโฉนดที่ดินไม่เกิน 20 ไร่ เสียค่าใช้จ่ายแปลงละ 50 บาท ถ้าเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกินคิดเพิ่มอีก            ไร่ละ 2 บาท  เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่
  21. ค่าหลักเขตที่ดินเหมาจ่ายแปลงละ 60 บาททุกแปลงรวมเป็นเงินค่าธรรมเนียม 2 รายการประมาณ 110 บาท/แปลง
  22. 3. ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ จะต้องเสียค่ามอบอำนาจเรื่องละ 20 บาท  (ค่าอากรแสตมป์ติดใบมอบอำนาจฉบับละ30 บาท)
  23. เจ้าของที่ดินต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในวันที่รับโฉนดที่ดินและเจ้าหน้าที่จะต้องเขียนใบเสร็จรับเงินตาม           รายละเอียดที่กล่าวมาแล้วมอบให้เจ้าของที่ดินรับไปด้วยแต่การจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวหากไม่สามารถชำระในวันรับโฉนดที่ดิน (ค้างชำระ) สามารถชำระได้ในวันที่มีการจดทะเบียนครั้งแรก
  24. ประโยชน์ของโฉนดที่ดิน
  25. เจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ดินให้ยึดถือไว้เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
  26. เจ้าของที่ดินสามารถนำโฉนดที่ดินใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อลงทุน  พัฒนาอาชีพ เพิ่มผลผลิตและรายได้ ซึ่งเป็นผลดีในทางศรษฐกิจของตนเอง และประเทศชาติ
  27. ลดปัญหาข้อขัดแย้ง และพิพาทแนวเขตที่ดินการบุกรุกที่ดินระหว่างกัน หรือการบุกรุกทำลายป่าและที่สาธารณะฯ
  28. รู้ตำแหน่งที่ตั้งขอบเขต และเนื้อที่ของรูปแปลงที่ดินแต่ละแปลงอย่างถูกต้อง
  29. การแย่งการครอบครองที่ดินมีโฉนดที่ดินผู้แย่งการครอบครอง จะต้องครอบครองที่ดินแปลงนั้น โดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกินสิบปีแล้วนำเข้าสู่ขั้นตอนการฟ้องร้องจึงจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแตกต่างจากสิทธิครอบครองซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ปี ในการแย่งการครอบครอง
  30. ที่ดินที่ต้องห้ามออกโฉนดที่ดิน
  31. ที่ดินที่ราษฎร์ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำทางหลวง ทะเลสาบ ที่ชายตลิ่ง
  32. ที่เขา ที่ภูเขา และ พื้นที่ที่รัฐมนตรี  ประกาศหวงห้ามยกเว้นที่ดินที่มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย   ตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อนการหวงห้าม
  33. ที่เกาะ ยกเว้นที่ดินที่มีหลักฐานแจ้งการครอบครอง ใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจองตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว" หนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3 หรือ กสน.5)
  34. ที่สงวนหวงห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่น
  35. ที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น เช่น   ป่าไม้ถาวร ป่าชายแลน เป็นต้น
  36. คำเตือน
  37. อย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด ว่าจะช่วยติดต่อทำโฉนดที่ดินให้ได้ โดยเรียกร้องค่าใช้จ่าย หรือเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อแลกเปลี่ยนกับการทำโฉนดที่ดิน ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมต่อเมื่อทำโฉนดที่ดินเสร็จ และ นัดหมายให้เจ้าของที่ดินมารับโฉนดที่ดินโดยจะออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐานซึ่งเก็บแปลงละ 110 บาท ถ้าเกิน 20 ไร่ เก็บเพิ่มอีกไร่ละ 2 บาท เศษของไร่คิดเป็นหนึ่งไร่ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท และค่าอากรแสตมป์  ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท)
  38. หากมีผู้ใดแอบอ้างเรียกเก็บเงินตามข้อ 1 เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย และแจ้งเจ้าพนักงานที่ดิน  จังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดส่วนแยก เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการศูนย์เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน   ซึ่งรับผิดชอบในท้องที่ หรือ แจ้งไปที่สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ กรมที่ดิน  โทร. 02 5033951 , 02 5033380​