เรามารู้จักพิพิธภัณฑ์กันเถอะ

 

โดยนายชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ

                        หลายคนคงจะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของพิพิธภัณฑ์หรือพิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์ความหมายโดยรวมหมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม สงวนรักษาและจัดแสดงวัตถุอันมีความสำคัญทาง วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและความเพลิดเพลิน ให้รวมถึงหอศิลป์ อนุสารณ์ สถานทางประวัติศาสตร์ สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน สถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำและสถานที่อื่นๆ ที่จัด แสดงสิ่งมีชีวิตงานของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยเริ่มมีการวางรากฐานมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔) โดยสาเหตุมาจากการพัฒนาประเทศตามแนวทางตะวันตก ประกอบ กับความสนพระทัยส่วนพระองค์ในการทีจะรวบรวมของโบราณที่ทรงพบขณะเสรด็จธุดงค์ในที่ต่าง ๆ เมื่อครั้งทรงผนวช โดยนำของโบราณเหล่านั้นมาเก็บรักษา ณ พระที่นั่งราชฤดี ในพระบรมมหาราชวัง การจัด ตั้งพิพิธภัณฑ์ครั้งนั้นมิได้ทำตามกระแสนิยมแบบชาวตะวันตกเท่านั้น แต่ยังทำเพื่อเป็นแหล่งความรู้เกี่ยว กับประวัติศาสตร์ของชาติไปพร้อมกันด้วย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้มีการสานต่องานพิพิธภัณฑ์ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จ ประพาสต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป ทางนำความเจริญต่าง ๆ ที่ได้ทอดพระเนตรมาเป็นแนวทางในการ พัฒนาประเทศ งานพิพิธภัณพ์นับเป็นกิจการหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในสมัยนี้ จากพิพิธภัณฑสถาน สำหรับประชาชน จัดตั้งที่พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ เมื่อสถานที่ทรุดโทรมลงจึงย้ายของทั้งหมดมาเก็บไว้ที่พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปปัติหลังจากการเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ ครั้งแรก ณ ประเทศชวา  ในพ.ศ. ๒๔๑๔ ได้โปรดฯ ให้ก่อสร้างหอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวัง ตามแบบหอคองคอเดียเมืองปัตตาเวีย ในปีพ.ศ.๒๔๓๐ ได้ทรงโปรดฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑ์จากหอคองคอเดียมายังพระราชวังบวรสถาน มงคลหรือวังหน้า ได้โปรดฯ ยกขึ้นเป็นกรมพิธภัณฑสถาน ขึ้นกับกระทรวงธรรมการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการจัดระเบียบราชการให้สอดคล้องกับหน้าที่ความ
รับผิดชอบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมงานของกรมพิพิธภัณฑสถานเข้ากับกรมศิลปากร ใน พ.ศ. ๒๔๕๕ ให้มีผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อพระองค์

                      ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น โปรดเกล้าฯ ให้โอนงานพิพิธภัณฑสถานไปอยู่ในความปกครองขอหอสมุดสำหรับพระนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ และเรียกชื่อว่า "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร" รวมทั้งพระราชทานพื้นที่ทั้งหมดของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าให้เป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของพิพิธภัณฑสถานไทยในปัจจุบัน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พงศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาพิพิธภัณฑสถานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากกระแสความคิดและระบอบการเมืองการปกครองที่เปลี่ยนแปลงไปได้ให้อิทธิพลสำคัญต่อพิพิธภัณฑสถาน เนื่องจากความต้องการทางการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไป ดังนั้น ความรู้ รสนิยม การชื่นชมในศิลปะและความงามจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมได้ ซึ่งความต้องการดัง กล่าวนี้เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าในกิจการพิพิธภัณฑสถานทั่วประเทศ ทำให้เกิดการจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานเพิ่มขึ้นมากมายหลายประเภท รวมถึงพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน ซึ่งจัดเป็น พิพิธภัณฑสถานประจำหน่วยงานของรัฐ นอกเหนือไปจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่เป็นองค์กร ของรัฐในการจัดการและพัฒนาการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมที่ดินได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเมื่อวัน ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งเป็นวันที่กรมที่ดินดำเนินการมาครบรอบ ๑๐๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๕๔๔) และพยายามดำเนินการตามหลักสากลทั่วไป มีการจัดองค์กรและการจัดการที่ครบกระบวนการตามหน้าที่สามารถเปิดบริการสู่สาธารณชนเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเพื่อความเพลิดเพลินในการชม พิพิธภัณฑ์กรมที่ดินเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่ต้องการจะสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ของกรมที่ดินให้ผู้สนใจได้รับทราบ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิวัฒนาการของกรมที่ดินจากอดีตสู่ปัจจุบัน วิวัฒนาการในเรื่องการรังวัดและทำแผนที่ วิวัฒนาการของการออกเอกสารสิทธิและนิติกรรม เป็นต้น ในประเทศไทยบทบาทผู้นำในกิจการพิพิธภัณฑสถาน ยังคงขึ้นอยู่กับอำนาจของรัฐ โดยมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ทำให้หน้าที่ในการจัดการ การดูแล และในการสนับสนุนช่วยเหลือพิพิธภัณฑสถานอื่นๆรวมทั้ง บทบาทในการเผยแพร่ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการจัดตั้งอย่างแพร่หลายในชุมชนต่าง ๆ  ด้วย ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า องค์กรต่าง ๆ ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานขึ้นมากมาย ในองค์กรระดับท้องถิ่น มีการแพร่กระจายไปตามหน่วยงานย่อยต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคการศึกษา  และการวัฒนธรรม ทำให้ภาพพจน์ของพิพิธภัณฑสถาน ในฐานะของความเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้  และสถาบันเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม นั้นมีความชัดเจนมากขึ้นในสายตาของสังคมไทย โดยเฉพาะในยุค สมัยที่พร้อมที่จะมีกระแสความเปลียนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมได้โดยง่าย ในปัจจุบัน

 

[ย้อนกลับ]