การออกโฉนดที่ดินสมัยแรก

 

นำเสนอโดยนายชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน

บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ได้มีโอกาสติดตามพระยาปรชาชีพบริบลาล (ผึ่ง ชูโต) ท่านคืออำมาตย์เอก พระยาวิสูตรเกษตรศิลป์(ขำ ศาลิคุปต) มีตำแหน่งผู้ช่วยข้าหลวงเกษตร กองออกโนดที่ดิน ได้ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดในท้องที่ อำเภอพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนนครศรีอยุธยา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการอออกเอกสานสิทธิในที่ดิน หรือการออกโฉนดแผนที่อย่างใหม่ โดยการเดินสำรวจ

ในราวปีศก ๑๑๗ หรือต้นปีศก ๑๑๘ กระทรวงพระคลังฯ คิดออกหนังสือสำหรับที่ดินขึ้นอย่างหนึ่ง เรืยกว่าโฉนดตราจอง ที่คิดออกนั้นเนื่องจากที่ดินในทุ่งหลวงคลองรังสิต ซึ่งรัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัทขุดคลอง และจำหน่ายขายที่ดินสองฝั่งคลองให้แก่ประชาชนรับซื้อไปแล้ว แต่รัฐบาลยังมิได้ออกหนังสือสำคัญ สำหรับที่ดินให้แก่บริษัท บริษัทก็ยังมิได้หักโอนให้แก่ผู้รับซื้อเด็ดขาด อีกประการหนึ่งที่ดินคลองประเวศบุรีรมย์และคลองแยกกับคลองนครเนื่องเขต รัฐบาลได้ลงทุนตั้งข้าหลวงออกไปขุดคลองไว้ ถ้าผู้ใดต้องการที่ดิน ก็ต้องออกเงินช่วย เสียค่าขุดคลองให้แก่รัฐบาล ไร่ละ ๑ บาท ๕๐ สตางค์ ข้าหลวงได้ขุดคลองและจำหน่ายที่ดินให้ราษฎรรับซื้อไปหมดแล้ว รัฐบาลก็ยังมิได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้เหมือนกัน เงินช่วยเสียค่าขุดคลองรัฐบาลก็ยังเก็บไม่หมด สำหรับผู้เสียเงินช่วยขุดคลองทางข้าหลวงขุดคลองก็ทำหนังสือให้ถือไว้ฉบับหนึ่ง เรียกว่าหนังสือช่วยเสียเงินค่าขุดคลองเท่านั้น จะถือเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไม่ได้ ด้วยเหตุผล ๒ ประการข้างต้น กระทรวงพระคลังฯ จึงคิดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินขึ้น เพื่อออกให้แก่บริษัทและเพือจะเก็บเงินช่วยเหลือค่าขุดคลองประเวศบุรีรมย์และคลองแยกกับคลองนครเนื่องเขตที่ยังค้างอยู่นั้นด้วย เวลานั้นประจวบกับพระยามหาโยธา (นกแก้ว) กลับจากราชฑุตกรุงเบอร์ลิน ยังว่างอยู่ กระทรวงพระคลังฯ ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตตั้งพระยามหาโยธา (นกแก้ว) เป็นข้าหลวงใหญ่จัดการที่ดิน ราวเดือนเมษายน ศก ๑๑๗ ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของกระทรวงพระคลังฯ ในชั้นต้นได้ไปจัดการออกในทุ่งหลวงคลองรังสิตก่อน วิธีดำเนินการทำโฉนดตราจอง ออกนั้นมิได้มีการรังวัดจัดการเขียนโฉนดตราจอง เอาตามแผนที่ของบริษัทนั้นเอง เมื่อบริษัทได้รับโฉนดตราจองแล้ว ก็ไปทำหนังสือสัญญาขายให้แก่ผู้รับซื้อต่อกรมการอำเภอท้องที่

 ปลายปี ศก ๑๑๙ พระยามหาโยธา (นกแก้ว) ข้าหลวงพิเศษจัดการที่นา กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ การออกโฉนดตราจองในทุ่งหลวง คลองรังสิตกับคลองประเวศบุรีรมย์ ก็คั่งค้างอยู่ทั้ง ๒ แห่ง ท่านเจ้าพระยาเทเวศรวงษวิวัฒน์ เจ้ากระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้นก็มิได้จัดการให้ผู้หนึ่งผู้ใดออกไปทำการแทน นับว่าโฉนดตราจองที่ออกกันครั้งพระยามหาโยธา (นกแก้ว) ก็เป็นอันยุติ

 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงเพิกเฉย ประกอบกับยังหาตัวผู้กระทำการนี้ต่อไปไม่ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมเสนาบดี ทรงปรึกษาว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็นสิ่งจำเป็นแล้วไม่ควรจะหยุด ควรต้องทำต่อไป เพราะบ้านเมืองก็เจริญขึ้น และที่ดินมีราคาขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อออกหนังสือสำหรับที่ดินแล้ว การเก็บเงินอากรก็สะดวกการวิวาทบุกรุก แย่งชิงที่ดินก็จะเบาบางลง ทั้งนี้ผู้ที่จะกระทำการได้ ต้องพระราชประสงค์คนไทย เพราะว่าคนฝรั่งที่จะจ้างเข้ามาไม่รู้ภูมิประเทศของเมืองไทย ต้องออกไปตรวจตราภูมิประเทศเสียก่อน อีกประการหนึ่งคนฝรั่งไม่รู้นิสัยใจคอของคนไทย กว่าจะรู้และเข้าใจกันดี ก็เสียเวลาเปล่าไม่ได้ลอะไร คนไทยของเราย่อมรู้ภูมิประเทศและนิสัยของคนไทยกันดีอยู่แล้ว

 สมเด็จกรมพระยาดำรงรราชานุภาพ (เมื่อยังมีพระยศเป็นกรมหมื่น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในที่ประชุมเสนาบดีว่า คนไทยที่เห็นสมควรรับทำการนี้ฉลองพระเดชพระคุณได้ คือ พระยาอหารบริรักษ์ (ผึ่ง ชูโต) เมื่อมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาประชาชีพบริบาลข้าหลวงพิเศษจัดการศาลยุติธรรม

 การออกโฉนดแผนที่อย่างใหม่ จึงได้เริ่มขึ้น เมื่อปลายปี ร.ศ. ๑๑๙ หรือต้นปี ร.ศ. ๑๒๐ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศตั้งพระยาอาหารบริรักษ์ (ผึ่ง ชูโต) เมื่อมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาประชาชีพบริบาล เป็นข้าหลวงพิเศษจัดการที่ดิน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งศาลขึ้นพร้อมกัน เรียกว่าศาลเกษตร สำหรับเป็นเครื่องมือชำระคดีเรื่องที่ดินในเขตที่จะออกโฉนดแผนที่อย่างใหม่ เขตที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปออกโฉนดข้างต้น คือ ตั้งแต่แยกบางไทรจดแยกแควสีกุดตลอดถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเบื้องต้นพระยาอาหารบริรักษ์ (ผึ่ง ชูโต) ได้คิดทำแบบใบเดินทุ่ง ก่อนแล้ว จึงคิดทำใบไต่สวน เรียกว่า ใบหมายเขตที่ดิน และแบบบัญชีเทียบแบบหมายเรียกพยานข้างเคียง ใบไต่สวนทำเป็น ๓ ฉบับ เรียกตอนที่ ๑,๒ และ ๓ โดยตอนที่ ๑ สำหรับไว้เขียนโฉนด ตอนที่ ๒ สำหรับแจกให้แก่เจ้าของที่ดินยึดถือไว้ เพื่อนำมาออกโฉนดภายหลัง เมื่อโฉนดแล้วส่งมาเก็บไว้ยังหอทะเบียนกลาง ตอนที่ ๓ ทางจังหวัดขอไว้เป็นเครื่องมือเก็บเงินอากรค่าที่ดิน ใบเดินทุ่งนั้นใช้เป็นร่างสำหรับไว้เขียนใบไต่สวนภายหลัง เพราะการเขียนใบไต่สวนหากเขียนที่กลางทุ่งก็จะไม่เรียบร้อย การทำแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เริ่มลงมือทำตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐ ประมาณเกือบเดือน จึงนำไปถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตรวจ เมื่อทรงตรวจเป็นการใช้ได้จึงส่งไปพิมพ์ ส่วนแบอื่น ๆ นอกจากนี้ คณะทำเนินการนำไปคิด ณ กองเดินสำรวจ ราวเดือนมิถุนายน ร.ศ. ๑๒๐ คณะขอพระยาอหารบริรักษ์ (ผึ่ง ชูโต) ก็ยกกองไปตั้งอาศัยพักทำงการรอยู่ที่สภาคารราชประยูร พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อน เนื่องจากยังไม่ได้สร้างหอทะเบียนประจำจังหวัดเป็นสถานที่ทำงานขึ้น ผู้ทำการด้านทะเบียนครั้งแรกมี ๔ คน ด้วยกัน และมีช่างแผนที่ อีก ๔ คน รวมเป็น ๘ คน ภายหลังกรมแผนที่ส่งไปช่วยอีก ๑ คน การเริ่มงานครั้งแรกนี้ถือว่าเป็นการทดลอง และเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๐ ก็เริ่มออกลงมือทำการเดินรังวัดหมายเขตที่ดินตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการและทำที่บ้านพลับ ตำบลเกาะเกิด ท้องที่อำเภอพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นปฐมฤกษ์ก่อน ผู้ออกไปทำกำกับการเดินสำรวจแบ่งงานในหน้าที่กัน คือ ด้านทะเบียน ๔ คน ทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกเป็นผู้ไต่สวน ให้เจ้าของที่ดินและพยานข้างเคียงลงลายมือ ช่างแผนที่ก็เป็นผู้ทำการเดินรังวัดตรวจเขตที่ดินตามแผนที่ระวาง ซึ่งได้ทำรายละเอียดแล้ว ราษฎรเจ้าของที่ดินก็นำรังวัดตามแนวเขตที่ของตน กำนันท้องที่หรือผู้แทนต้องพร้อมมาเป็นพยานด้วยทุกราย กำนันได้ค่าป่วยการวันละ ๑ บาททุกวัน จนกว่าจะเสร็จ งานเดินรังวัดที่ดินในครั้งนี้ เสร็จได้ ๔ ตำบลด้วยกัน ผู้ที่ออกไปทำงานก็ยกกลับมายังที่พักองข้าหลวงที่สภาคารราชประยูร พระราชวังบางปะอิน เพื่อช่วยกันเขียนใบไต่สวน เมื่อเขียนและสอบทานแล้วก็แจกใบไต่สวนตอนที่ ๒ ให้ราษฎรเจ้าของที่ดิน ยึดถือไว้ชั่วคราว ส่วนใบไต่สวนตอนที่ ๑ เก็บไว้เขียนโฉนด ตอนที่ ๓ เก็บไว้เมื่อแจกโฉนดแล้ว และส่งให้จังหวัดตามที่ขอไว้ เมื่อทำการตอนนี้เสร็จแล้วก็เร่มลงมือเขียนบัญชีเทียบ ฝ่ายช่างแผนที่ก็ตรวจสอบและแก้เนื้อที่ดินแปลงที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง สำหรับแบบสารบัญรายชื่อสารบัญที่ดิน บัญชีเก็บเงินค่าธรรมเนียม ใบเสร็จเก็บเงินค่าธรรมเนียม แบบฟอร์มโฉนด เมื่อพระยาอาหารบริรักษ์ (ผึ่ง ชูโต) ได้คิดแบบและเขียนแล้ว ก็นำไปถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจก่อน หากยังบกพร่องอยู่พระองค์ก็ทรงแนะนำให้ เมื่อแก้แล้วก็นำไปถวายให้ทรงตรวจอีกครั้ง ถ้ารับสั่งว่าใช่ได้ แบบฟอร์มโฉนดก็ส่งกรมแผนที่พิมพ์ แบบอื่นก็ส่งโรงพิมพ์รับจ้างพิมพ์ แบบฟอร์มโฉนดที่พิมพ์ขึ้นในชั้นต้นมีเครื่องหมายต่างกัน คือ ฉบับหลวงใช้กระดาษหนา กรอบโฉนดใช้ ๒ เส้นคู่ ฉบับสำหรับแจกให้แก่ราษฎรเจ้าของที่ดินใช้กระดาษบางกรอบโฉนดใช้เส้นเดียวแต่ก็ใช้กระดาษดี ๆ ทั้ง ๒ อย่าง เพื่อให้รู้ง่ายวาฉบับไหนเป็นของหลวง ฉบับไหนเป็นของราษฎร โดยมิต้องใช้ตราประทับเป็นเครื่องหมายอีกชั้นหนึ่ง

 การทำโฉนดเมื่อได้รับแบบฟอร์มโฉนด และแบบฟอร์มสารบัญที่ดิน สารบัญรายชื่อมาแล้วก็เริ่มลงมือเขียนโฉนด เขียนสารบัญที่ดิน สารบัญรายชื่อ ฝ่ายพนักงานช่างแผนที่ก็ให้จำลองแผนที่และเขียนแผนที่หลังโฉนดและตรวจโฉนด

 ฝ่ายพระยาอาหารบริรักษ์ (ผึ่ง ชูโต) และผู้ช่วยข้าหลวง (พระยาวิสูตรเกษตรศิลป์ ขณะดำรงตำแหน่งในขณะนั้น) เมื่อจ่ายงานให้เสมียนและช่างแผนที่ทำกันแล้ว ก็เริ่มคิดทำแบบฟอร์ม สำหรับใช้ทางแผนกหอทะเบียนอีกต่อไป คือ แบบสัญญาขาย แบบสัญญาซื้อ แบบสัญญาจำนอง แบบสัญญาขายฝากแบบสัญญาให้ แบบสัญญาเช่า แบบรายงานส่งต่อกรรมสิททธิ์ แบบบัญชีเงินค่าธรรมเนียม แบบบัญชีแยกประเภท แบบบัญชีรับทำสัญญา แบบใบเสร็จเก็บเงินค่าธรรมเนียม กับแบบวิธีการจดทะเบียนประเภทต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น พอร่างและเขียนเสร็จ พระยาอาหารบริรักษ์ (ผึ่ง ชูโต) ก็นำไปถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจเช่นเดียวกันกับเรื่องแบบออกโฉนด เมื่อพระองค์ท่านทรงตรวจรับสั่งว่าใช้ได้แล้ว ก็สั่งจ้างพิมพ์เป็นอันภาระเรื่องแบบพิมพ์

 

 สภาคารราชประยูร พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

หลังจากนั้นก็ระดมให้เสมียนพนีกงานรีบเร่งทำโฉนดให้แล้วเสร็จ ให้ทันทีกำหนดไว้ว่าจะแจกให้แก่ราษฎร์เจ้าของที่ดินในเดือนธันวาคมหรือมกราคม ศก ๑๒๐ และเดือนมกราคม ศก ๑๒๐ จะได้จัดการให้ออกไปเดินรังวัดใหม่ต่อไป

 เรื่องประกาศเมื่อได้ลงมือเขียนโฉนด และจำลองแผนที่หลังโฉนดที่ดินตำบลใดก็ได้ประกาศบอกล่วงหน้าให้ประชาชนทราบมีกำหนด ๓๐ วัน ครั้งหนึ่ง เพื่อประสงค์ว่า ถ้าผู้ใดมีเกียวข้องอย่างไรหรือจะร้องได้แย้งประการใดก็ให้มาเรียงเสียภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันประกาศ หากมิได้มีผู้หนึ่งผุ้ใดมาร้องเรียนก็ถือว่า ว่าผู้ที่นำรังวัดมาเป็นเจ้าของ ครั้งถึงคราวที่แจกโฉนด ก็ประกาศกำหนดวันให้ราษฎรเจ้าของที่ดินมารับโฉนดอีกครั้งหนึ่งภายใน ๑๕ วัน หรือ ๓๐ วัน แล้วแต่จะเห็นสมควร ประกาศนี้นำลงในราชกิจจานุเบกษา ทั้ง ๒ ฉบับ

 ในระหว่างที่กำลังทำโฉนดอยู่ที่ สภาคารราชประยูร พระราชวังบางปะอิน ปีแรกนั้น (รศ ๑๒๐)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสร็จพระราชดำเนินไปประทับแรมที่พระราชวังบางปะอิน มีพระบรมราชประสงค์จะทรงทอดพระเนครดูกิจการทำโฉนดอย่างใหม่ แต่ว่าก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จทอดพระเนตรนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ทรงรับผิดชอบในการนี้ด้วยได้เสด็จไปทรงตรวจล่วงหน้าไว้เสียชั้นหนึ่งก่อน เมื่อถึงวันที่เสด็จพระราชดำเนินไปตรวจจะได้กราบบังคมทูลพระกรุณาได้ถูกต้องตามควรแก่กรณี