หน้าแรก

       FAQ งานรังวัดที่ิดิน

Q  :  เจ้าของที่ดินควรทราบ​อะไรบ้าง ก่อนที่จะทำการรังวัดที่ดิน?
 A  :  ​1.ที่ดินที่ครอบครองอยู่มีหลักฐานอะไร ให้นำหลักฐานที่มีอยู่นั้นไปประกอบการยื่นคำขอ รังวัดที่ดิน
         2.ที่ดินตั้งอยู่ หมู่ที่,ตำบล,อำเภอ,เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด
         3.เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้ใดบ้าง(ถ้าทราบ) ติดที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ เช่น ทางสาธารณประโยชน์  คลอง แม่น้ำ ฯลฯ ซึ่งอาจจะแตกต่างตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดิน
         4.สภาพที่ดินการใช้ประโยชน์อย่างไร เช่น ที่นา ที่สวน ที่ไร่ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ
         5.ตรวจสอบขอบเขตรอบแปลงที่ดิน(ถ้าทราบ) เพื่อเตรียมความสะดวกต่อการรังวัด(ถากถางแนวเขต)
Q  :  ​การขอรังวัดที่ดิน​ จะต้องทำอย่างไร?​
 A  :​  เจ้าของที่ดินผู้มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน เช่น น.ส.๓ ,น.ส.๓ ก. หรือโฉนดที่ดิน นำหนังสือแสดง-สิทธิ์  ในที่ดินดังกล่าว พร้อมบัตรประชาชนไป ยื่นคำขอรังวัด                ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ พนักงานเจ้าหน้​าที่จะทำการรับคำขอ และนัดวันรังวัด พร้อมทั้งต้องชำระค่าใช้จ่ายในการ              รังวัด ด้วย ในการยื่นคำขอ ระบุให้ชัดเจนว่าจะทำการรังวัดอะไร อย่างไร เช่​น แบ่งแยกกี่แปลง แต่ละแปลงที่แ​ยกออกไปจะเป็นของผู้ใดบ้าง โดยทั้งนี้สามารถตรวจสอบ           พื้นที่ตั้งสำนักงานที่ดิน ที่รับผิดชอบที่ดินของท่านเบื้องต้นได้จาก​เว็บไซต์กรมที่ดิน (www.dol.go.th / งานบริการประชาชน / "ระบบสืบค้นพื้นที่รับผิดชอบของ                   สำนักงานที่ดิน")  หรือ คลิ๊กที่นี่
  Q  :  การขอรังวัดที่ดิน สอบเขต หรือแบ่งแยกโฉนดที่ดินจะต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง?
  A  :  ​• โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์(ฉบับจริง)
         • บัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับจริง) หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลต่างๆ
         • หนังสือยินยอมผู้รับจำนอง(กรณีติดจำนอง)
          • หนังสือมอบอำนาจของเจ้าของที่ดิน(ถ้ามี)
          • หนังสือที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น คำพิพากษาฯ
  ​​​​​Q  :  การรังวัด สอบเขต​ แบ่งแยกที่ดิน​ มีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร?​
  A  :  ขั้นตอนการรังวัด  สอบเขต แบ่งแยกที่ดิน
​​                 การยื่นคำขอรังวัด
                      1.รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
​                      2.รับคำขอสอบสวน ชำระเงินค่​​าธรรมเนียมคำขอ
                      3.ส่งฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดวันทำการรั​งวัด กำหนดตัวช่างรังวัด กำหนดเงินมัดจำรังวัด
​                 การรังวัด
                      4.ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หนังสือแจ้งข้างเคียง
                      5.รับหนังสือแจ้งข้างเคียง(กรณีมีแนวเขตติดต่อที่ดินของส่วนราชการ) / วางเงินมัดจำรังวัด  
                      6.ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดตามวันที่กำหนดไว้
​                 การจัดทำรายงานรังวัด
                      7.จัดทำรายการรังวัด สร้างรูปแผนที่แบ่งแยกโฉนดที่ดิน 
                      8.ส่งเรื่องรังวัดคืนฝ่ายทะเบียน เรียกผู้ขอมาจดทะเบียน
                       การจดทะเบียน,การสร้างและแจกโฉนดที่ดิน
                      9.สอบสวนจดทะเบียนสอบเขต / แบ่งแยก
                    10.ตรวจอายัด
                    11.ชำระเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน และค่าโฉนด
                    12.แก้รายการทะเบียน และจดทะเบียนแบ่งแยก
                    13.สร้างโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก
                    14.เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามและประทับตรา
                    15.​แจกโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก
Q  :  อยากทราบค่าใช้จ่ายในการรังวัดเบื้องต้นเกี่ยวกับโฉนด​ที่ดิน?
A  :  - ค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินจะเป็นค่าพาหนะและค่าจ้างคนงาน(เหมาจ่าย)  เป็นไปตามประกาศจังหวัดนั้นๆ ทั้งนี้แต่ละจังหวัดจะใช้เทียบเคียงตามประกาศ                           กระทรวง  มหาดไทย​ รวมทั้งค่าหลักเขตที่ดิน และค่าธรรมเนียมรังวัดต่างๆ
       - ทั้งนี้สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากเว็บไซต์กรมที่ดิน (www.dol.go.th / งานบริการประชาชน /  "ค่าใช้จ่ายในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน พิสูจน์สอบสวน                    และตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์") ​หรือ  คลิกที่นี่

      FAQ งานทะเบียน
Q : สอบถามค่าใช้จ่ายในการโอน?
A : ***กรณีบุคคลธรรมดา***
     1.ค่าธรรมเนียมการโอน ร้อยละ 2 คิดจากราคาประเมิน
     2.ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดตามจำนวนปีที่ได้มา โดยคิดไม่เกิน ร้อยละ 2.5 จากราคาประเมิน
     3.(กรณีการได้มาเกิน 5 ปี) ค่าอากรแสตมป์ ร้อยละ 0.5 คิดจากราคาที่สูงกว่า ระหว่างราคาทุนทรัพย์และราคาประเมิน
     4.(กรณีการได้มาไม่เกิน 5 ปี) ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3.3 คิดจากราคาที่สูงกว่า ระหว่างราคาทุนทรัพย์และราคาประเมิน
       *** กรณีนิติบุคคล***
     1.ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2 คิดจากราคาประเมิน
     2.ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 1 คิดจากราคาที่สูง ระหว่างราคาขายกับราคาประเมิน
     3.ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3.3 คิดจากราคาที่สูง ระหว่างราคาขายกับราคาประเมิน
        **นิติบุคคลขาย ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทุกราย ตามประมวลรัษฎากร**

 Q : ขอทราบราคาประเมินทำอย่างไร?
 A : ท่านสามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศได้ด้วยตัวเอง โดยไปที่เว็ปไซต์กรมธนารักษ์ คลิ๊กที่นี่  หรือใช้ แอพพลิเคชั่น landsmaps  คลิ๊กที่นี่  เพื่อค้นหารูปแปลงที่ดินท่านจะทราบราคาประเมินได้ 

Q : สัญญาขายฝากทำสัญญา 6เดือน ได้ไหม?
A : สัญญาขายฝากต้องกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่า 1 ปี

Q : ที่ดินอยู่ต่างจังหวัดจะโอนที่ร้อยเอ็ดได้ไหม?
A : 1.การที่ที่ดินอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถมาดำเนินการให้ที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ดหรือที่อื่นๆ ได้
     2.เอกสารที่ต้องเตรียมโฉนดที่ดินฉบับจริง บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ตัวจริงของผู้ให้ และผู้รับให้ หากเป็นบิดาให้บุตรต้องเตรียมทะเบียนสมรสระหว่างบิดาและ               มารดา  มาด้วย พร้อมทั้งให้มารดามาเซ็นต์ยินยอม
     3.ค่าใช้จ่ายกรณีบิดาให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ที่ 1% ของราคาประเมิน
     4.ระยะเวลาในการทำเรื่องประมาณ 15-30 วัน
 
Q : ต้องการแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ?
A : ดาวน์โหลดจากเว็บกรมที่ดิน หรือ คลิ๊กที่นี่

Q : ในกรณีที่เรามีที่ดิน ให้คนอื่นเช่าทำธุรกิจอาคารพาณิชย์ เจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีอย่างไร
A : ถ้าท่านประสงค์จะสอบถามการเสียภาษีที่ดิน ขอให้สอบถาม/ขอคำแนะนำจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของพื้นที่ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงได้เลยครับ

Q : อยากทราบการคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
A : ท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่ระบบให้บริการคำนวณภาษีอากร หรือ  คลิ๊กที่นี่

Q : การขอคัดเอกสาร สัญญาซื้อขาย
A : เจ้าของคอนโด ยืนคำขอคัดเอกสารสัญญาซิ้อขาย
 --บัตรประชาชนตัวจริงผู้ขอ(เจ้าของ)
 --รายละเอียดห้องชุดที่จะขอคัดเอกสาร

Q : ชำระค่าธรรมด้วยการโอนเงินได้ไหม?
A : โอนไม่ได้ แต่สามารถแสกนQRcode/รูดบัตรเดบิต/เครดิต 
 
Q : เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกและมรดก
A : เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดก
      1.คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
      2.มรณบัตรเจ้ามรดก
      3.บัตรประชาชน / ทะเบียนบ้านผู้จัดการมรดก
      4.หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี)
      5.โฉนดที่ดิน
 **ใช้เอกสารตัวจริง
 เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนโอนมรดก
      1.ถ้าโอนมรดกพินัยกรรม ให้นำพินัยกรรมไปแสดงด้วย
      2.บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านผู้รับมรดก
      3.หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี)
      4.โฉนดที่ดิน
 **ใช้เอกสารตัวจริง

Q : ค่าคำขออื่นๆ มีอะไรบ้าง?
A : ค่าคำขอ 
 แปลงละ 5 บาท
 ค่าพยาน  20 บาท
        ** กรณีมอบอำนาจ**
  เพิ่มค่ามอบอำนาจ 20 บาท
        อากรแสตมป์ 30 บาท
        ใบระวางที่ดิน
 ค่าคำขอ 5 บาท 
 รูประวางที่ดินแปลงละ 5 บาท
 ค่าพยาน 20 บาท
Q : เอกสารที่ต้องใช้โอน ที่ดินแบบซื้อขาย
A : คู่สัญญา (ผู้ขาย-ผู้ซื้อ)
 ทำนิติกรรมด้วยกันที่ สนง.ที่ดิน
 หลักฐานเอกสาร
   1.บัตรประชาชน
   2.ทะเบียนบ้าน
   3.ใบเปลี่ยนชื่อตัว/ชิ่อสกุล(ถ้ามี)
   4.หนังสือยินยอมคู่สมรส(ถ้ามี)
   5.ใบอนุญาตปลูกสร้าง(ถ้ามี)
   6.โฉนดที่ดิน
 **ใช้เอกสารตัวจริง**