​      การจัดทำแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา

       ๑. ให้ทบวงการเมืองผู้ขอประสานนายอำเภอหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นขอรังวัดจัดทำแผนที่ต่อสำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

       ๒. จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ หรือ ๑ : ๕๐๐๐๐ หรือ ๑ : ๒๕๐๐๐ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมลงในกรอบกระดาษ                     ขนาด A4 ยกเว้น กรณี ที่ดินขนาดใหญ่ หรือ เล็กเกินไปจะใช้มาตราส่วนอื่น หรือขนาดกรอบกระดาษอื่นก็ได้

      ๓. แสดงรายละเอียด

            ๓.๑ กรณีขอถอนสภาพบางส่วนให้แสดงแนวเขตที่ขอถอนสภาพและส่วนคงเหลือ พร้อมเนื้อที่ด้วย

            ๓.๒ กรณีติดที่เอกชนระบุจด “ที่มีการครอบครอง” หากติดที่ดินของรัฐระบุจุด

                   “ที่สาธารณประโยชน์”, “ที่ราชพัสดุ”, “ที่รกร้างว่างเปล่า” แล้วแต่กรณี พร้อมชื่อเรียกและหนังสือสำคัญ (ถ้ามี)

            ๓.๓ กรณีติดทางบกหรือทางน้ำ ให้เขียนจดขอบแผนที่หากเป็นทางแยกหรือทางตันให้แสดงด้วย

            ๓.๔ กรณีติดทางสาธารณะเขียนระบุว่า เป็นทางลาดยางหรือลูกรังหากมีชื่อเฉพาะเขียนไว้ด้วยพร้อมหมายเลขทางกำกับและ                               เขียนชื่อบ้าน ตำบล หรืออำเภอ อะไร ที่อยู่ถัดไปจากท้องที่ที่ขอถอนสภาพด้วย

            ๓.๕ กรณีติดทางหลวงแผ่นดิน หรือทางหลวงชนบท ให้ระบุชื่อและหมายเลขทางหลวงกำกับเส้นทาง และระบุด้วยว่าทางนั้นไป                           อำเภออะไรที่อยู่ถัดไป หรือหากทางดังกล่าวไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทชื่อใด หมายเลขใด

           ๓.๖ หากมีสถานที่สำคัญๆ เช่น วัด โรงเรียน สถานที่ราชการให้แสดงที่ตั้ง โดยใช้สัญลักษณ์แผนที่ด้วย

           ๓.๗ แสดงค่าพิกัดฉากระบบภูมิศาสตร์หรือ UTM

           ๓.๘ ส่งสำเนาค้นร่างแผนที่ รายงานรังวัด (รว.๖๗) และรายการคำนวณให้กรมที่ดินด้วย

           ๓.๙ กรณีถอนสภาพบางส่วนให้หมายสีแสดงแนวเขตที่ขอถอนสภาพและส่วนคงเหลือในสำเนารูปแผนที่หนังสือสำคัญสำหรับ                             ที่หลวงด้วย

 

             หมายเหตุ : ให้ทบวงการเมืองผู้ขอจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับแผนงานโครงการ โดยยึดแผนที่และ                                                   เนื้อที่ตามผลการรังวัดเป็นกรอบจัดวางผังใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมแสดงรายละเอียดการใช้พื้นที่ในแต่ละ                                                   กิจกรรมให้ชัดเจนด้วย

 

กลับหน้าหลัก