​​ 
ประโยชน์ของ IDP

 

เขียนโดย อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์

                         การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลจึงเป็นแผนงานที่ทุกองค์การให้ความสำคัญและผู้บริหารระดับสูงสุด
      พยายามผลักดัน
ให้พนักงานทุกคนต้องมี IDP เป็นของตนเอง จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของ IDP ที่เกิดขึ้นนั้นจะแบ่งเป็น
      3 ระดับ ได้แก่ ระดับพนักงาน ระดับหน่วยงาน
หรือ
หัวหน้างาน และระดับองค์การโดยรวม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                         ระดับพนักงาน
                         ปรับปรุง (To Improve)IDP จะช่วยปรับปรุงความสามารถเดิมที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็งก็ตาม
      พบว่าแผนงาน
ดังกล่าวนี้มุ่งเน้นให้พนักงานปรับปรุงผลงานที่รับผิดชอบในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้พวกเขา
      เกิดความเชื่อมั่นในการทำงาน อันนำไปสู่ขวัญ
และกำลังใจในการทำงานต่อไป
                
พัฒนา (To Develop) นอกจากจาการปรับปรุงงานที่รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบันแล้ว IDP ยังช่วยทำให้เกิดการ
      พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาความสามารถในงานในดียิ่งขึ้นต่อไปจากความสามารถเดิมที่มีอยู่ นั่นก็คือ
      การเพิ่มศักยภาพในการทำงานของพนักงานเพื่อให้มีขีดความสามารถที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้นต่อไปได้
               
เตรียมความพร้อม (To Prepare)พบว่าความใฝ่ฝันของพนักงานหลาย ๆ คนก็คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่  
      การงานที่เรียกว่าเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ในองค์กรการจัดทำ IDP จะช่วยให้พนักงาน
      มีความพร้อมในการทำงานในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นหรืองานที่ต้องโอนย้ายไปทำงานในหน่วยงานอื่นที่แตกต่างไปจากเดิม
      ทำให้พนักงานลดความรู้สึกกังวลความเครียด และความกลัวที่จะไม่สามารถทำงานได้ตามที่ผู้บังคับบัญชาคาดหวัง

               ระดับหน่วยงานหรือหัวหน้างาน
                        การทดแทนงาน (Work Replacement)IDP เป็นการเตรียมความพร้อมให้พนักงานเกิดความมั่นใจหากต้อง
      โอนย้ายหรือหมุนเวียนงาน ทำให้พนักงานยอมรับไม่ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนงานที่ไม่เคยรับผิดชอบมาก่อน ผลก็คือพนักงาน
      เกิดทักษะการทำงานที่หลากหลายด้าน (Multi Skills) และความสามารถในการทำงานที่หลากหลายด้านนี้เองย่อมทำให้ 
      พนักงานสามารถทำงานทดแทนกันและกันได้ ซึ่งมีผลทำให้หัวหน้างานไม่ต้องหนักใจ หากกรณีพนักงานลาหยุดงานหรือ
      ลาออกไป
                ผลงานของหน่วยงาน (Department Performance)แน่นอนว่าเมื่อพนักงานปฏิบัติงานดีขึ้น ผลงานของ
      พนักงานย่อมดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งผลงานของพนักงานย่อมนำไปสู่ผลงานของหัวหน้างานหรือหน่วยงานในที่สุด
      ดังนั้นความสำเร็จของหัวหน้างานย่อมเกิดขึ้นจากการเรียนรู้และการพัฒนาของพนักงานโดยมีหัวหน้างานเป็นผู้รับผิดชอบ
      ในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานเป็นหลัก
               คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life) คุณภาพชีวิตเกิดขึ้นจากความสามารถในการรักษา
      สมดุลย์ในการทำงาน นั่นก็คือ ความสามารถในการบริหารเวลาทั้งในงานที่รับผิดชอบและในชีวิตส่วนตัว การที่หัวหน้างาน
      มีพนักงานที่ทำงานดี มีขีดความสามารถ ย่อมช่วยให้หัวหน้างานทำงานแบบ Work Smart มากกว่า Work Hard
      นั่นก็คือ หัวหน้างานมีเวลาในการวางแผนการทำงานเชิงกลยุทธ์ ทำงานเชิงรุกมากกว่าการทำงานเชิงรับ มีเวลามากพอ
      ในการคิดปรับปรุงรูปแบบการทำงานของหน่วยงานให้ดีขึ้น ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการทำงานย่อมนำไปสู่การทำงานที่เร็ว
      และมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่องค์การต้องการ ย่อมเท่ากับว่าหัวหน้างานจะมีเวลามากพอกับการบริหารชีวิต
      ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัวหรือเรื่องอื่น ๆ

               ระดับองค์การโดยรวม
               ผลงานขององค์การ (Corporate Performance) ผลสำเร็จของหน่วยงานที่เป็นไปตามเป้าหมายหรือสูงกว่า
      เป้าหมายย่อมส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การ แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่องค์การต้องการสูงสุดมักจะหนีไม่พ้นเรื่องการเงิน
      ไม่ว่าจะเป็นกำไร รายได้ส่วนแบ่งตลาด ยอดขาย และผลลัพธ์ดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลักที่สำคัญก็คือ
      "บุคลากร" ในองค์การ คำถามที่องค์การจะต้องคิดเสมอก็คือ "จะทำอย่างไรให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และพัฒนา
      อย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง" 
      – พบว่าการจัดทำ IDP เป็นหนึ่งในแผนงานหลักที่จะสามารถตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาขององค์การหลาย ๆ แห่งได้
              การสร้างแบรนด์ให้กับองค์การ (Corporate Branding) บุคลากรที่มีความสามารถย่อมมีส่วนช่วยสร้างแบรนด์
      หรือภาพลักษณ์ขององค์การ แบรนด์ภายนอกก็คือ การพูดต่อกันแบบปากต่อปากเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาคน
      ในองค์การ และพบว่าหนึ่งในปัจจัยที่พนักงานมักจะถามถึงเวลาสัมภาษณ์งานก็คือ รูปแบบ เทคนิค และวิธีการพัฒนาคน
      ในองค์การ นอกเหนือจากภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกแล้ว การจัดทำ IDP ยังมีส่วนช่วยสร้างแบรนด์ให้กับพนักงาน
      ภายใน ทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ มีความรักและความผูกพันกับองค์การ
              ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ความสำเร็จขององค์การไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลงาน
      ปัจจุบันเท่านั้น ความสำเร็จย่อมเกิดขึ้นจากการสร้างและรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์การภายนอก

              ดังนั้นความสำเร็จขององค์การไม่ดูจากผลประกอบการในปัจจุบันเท่านั้น หากองค์การขาดการปรับปรุงและ 
      การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จและความได้เปรียบในการแข่งขันย่อมเกิดขึ้นได้ยาก และเมื่อไหร่ก็ตามที่องค์การ
      สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ องค์การย่อมสามารถมีโอกาสสร้างผลงานสู่ความเป็นเลิศ (High
      Performance) ได้อย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

ที่มา:  http://www.peoplevalue.co.th