ประกาศค่าใช้จ่ายในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือพิสูจน์สอบสวน หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์
สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรทราบ
1. ที่ดินที่ครอบครองอยู่มีหลักฐานอะไร ให้นำหลักฐานที่มีไปประกอบการยื่นคำขอ รังวัดที่ดิน
2. ที่ดินตั้งอยู่ หมู่ที่เท่าใด ตำบล อำเภอ อะไร
3. เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้ใดบ้าง ติดที่สาธารณประโยชน์หรือไม่
4. สภาพที่ดินเป็นอย่างไร เช่น ที่นา ที่สวน ที่ไร่ ที่อยู่อาศัย
การยื่นคำขอรังวัดที่ดิน
ยื่นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ คือ
โฉนดที่ดิน ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้น ตั้งอยู่
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ติดต่อที่สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เว้นแต่ ได้มีการยกเลิกอำนาจนายอำเภอ ให้ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
หลักฐานประกอบการขอรังวัด แบ่งแยก หรือสอบเขตโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
-
บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี)
-
โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
-
หลักฐานประกอบการขอรังวัดรวมโฉนดที่ดิน
-
บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
-
โฉนดที่ดินที่จะขอรวม ต้องมีลักษณะดังนี้
( 1 ) ต้องเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่ โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้
( 2 ) ต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับและต้องยังมีชีวิตอยู่ทุกคน
( 3 ) ต้องเป็นที่ดินติดต่อผืนเดียวกัน ในจังหวัดและสำนักงานที่ดินเดียวกัน
ขั้นตอนการรังวัด แบ่งแยก รวม สอบเขตที่ดิน
-
รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
-
รับคำขอสอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียมคำขอ
-
ส่งฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดวันทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด กำหนดเงินมัดจำรังวัด
-
ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หนังสือแจ้งข้างเคียง
-
รับหนังสือแจ้งข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัด รับหลักเขตที่ดิน
-
ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดตามวันที่กำหนดไว้
-
คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่ในโฉนดที่ดิน
-
ส่งเรื่องรังวัดคืนฝ่ายทะเบียน เรียกผู้ขอมาจดทะเบียน
-
สอบสวนจดทะเบียนแบ่งแยก
-
ตรวจอายัด
-
ชำระเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน และค่าโฉนด
-
แก้รายการทะเบียน และจดทะเบียนแบ่งแยก
-
สร้างโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก
-
เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามและประทับตรา
-
แจกโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก
ขั้นตอนการขอแบ่งแยกตรวจสอบเนื้อที่ และรวมหนังสือรับรองการทำประโยชน์
1. เจ้าของที่ดินนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นคำขอ
2. ให้ถ้อยคำในการนัดรังวัด เพื่อ - กำหนดวันทำการรังวัด
- กำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัด
- กำหนดเจ้าหน้าที่และสถานที่นัดพบ
3. รับเจ้าหน้าที่ไปทำการรังวัดและปักหลัก จนเสร็จการ 4. ลงนามในเอกสารต่าง ๆ 5. รอรับหนังสือแจ้งให้ไปดำเนินการจดทะเบียน ฯ ล ฯค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรังวัดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และโฉนดที่ดิน 1. ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ - ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 30 บาท - ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน( เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่) ไร่ละ 2 บาท 2. ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ - ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 30 บาท - ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 30 บาท - ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท - ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท - ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท 3. ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน - ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท - ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน( เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่ ) ไร่ละ 2 บาท 4. ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน - ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 40 บาท - ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 40 บาท - ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท - ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท - ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท 5. ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด - ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท - ค่ามอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท - ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท - ค่าพยานให้แก่พยาน คนละ 10 บาท - ค่าหลักเขต หลักละ 15 บาท 6. ค่าใช้จ่ายการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือพิสูจน์สอบสวน หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์
-
ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ และคนงานจ้างไปทำการรังวัด ให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบ
-
กระทรวงมหาดไทยด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
-
ค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ และค่าจ้างคนงานที่จ้างไปทำการรังวัด ให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบ
-
กระทรวงมหาดไทย ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
-
ค่าป่ายการให้แก่เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ หรือผู้แทนที่ไปในการรังวัด คนหนึ่งวันละ 50 บาท
-
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการรังวัดให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เรื่องละ 100 บาท
การคิดค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดิน
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินที่ผู้ขอจะต้อชำระตามกฎหมาย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 และ 48 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497) มีดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมรังวัด
- เกี่ยวกับโฉนดที่ดิน แปลง/วัน/ละ 40 บาท
- เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แปลง/วัน/ละ 30 บาท
2. ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ 15 บาท (ตามที่ใช้จริง)
3. ค่าใช้จ่ายในการรังวัดลักษณะเหมาจ่าย ดังนี้
3.1 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าส่งหมายข้างเคียงทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ 100 บาท
3.2 ค่าป่วยการเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ วันละ 50 บาท
3.3 ค่าพาหนะพนักงานเจ้าหน้าที่และคนงานรังวัด วันละไม่เกิน 800 บาท
3.4 ค่าคนงานรังวัด คน/วัน 200 บาท หรือ 250 บาท (ตามเขตจังหวัดที่กระทรวงการคลังกำหนด)
ทั้งนี้ การกำหนดวันทำการรังวัดตามข้อ 3.3 และ 3.4 กำหนดตามจำนวนเนื้อที่ ดังนี้
การรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน
1. เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ เวลาทำการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 1,950 บาท
2. เนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ เวลาทำการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 3,750 บาท
3. เนื้อที่ไม่เกิน 30 ไร่ เวลาทำการ 3 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 5,550 บาท
4. เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ เวลาทำการ 4 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 7,350 บาท
5. เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ เวลาทำการ 5 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 9,150 บาท
6. เนื้อที่ไม่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 6 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 10,950 บาท
7. เนื้อที่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 7 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 12,750 บาท
การรังวัดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์
-
เนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ เวลาทำการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 1,450 บาท
-
เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ เวลาทำการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 2,750 บาท
-
เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ เวลาทำการ 3 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 4,050 บาท
-
เนื้อที่ไม่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 4 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 5,350 บาท
-
เนื้อที่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 5 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 6,650 บาท
หมายเหตุ
-
ให้ใช้สำหรับพื้นที่โล่งเตียน
-
ส่วนพื้นที่ชุมชุน ที่นา ที่ไร่ ที่สวน ที่มีแนวเขตคดโค้งและมีปัญหาอุปสรรค ซึ่งต้องแก้ไขตามหลักวิชาการรังวัดและทำแผนที่ เช่น หมุดหลักฐานโครงงานแผนที่สูญหาย จำกัดเนื้อที่ ให้เพิ่มจำนวนวันทำการรังวัด 1 วัน
-
ในกรณีรังวัดออกโฉนดที่ดิน หากมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่ดินตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43
-
(พ.ศ.2537) ให้เพิ่มค่าพาหนะ 1 วัน
-
สำหรับการรังวัดแบ่งแยก(จัดสรร) ให้ทำการรังวัดและปักหลักเขต ให้คำนวณวันทำการทุก 12 แปลงต่อหนึ่งวัน